The Extraordinary Journey with Yodchat*Tinyline

เวิร์กช็อปที่รัก The Extraordinary Journey with Yodchat*Tinyline นี่คือเวิร์กช็อปศิลปะที่ประทับใจมาก เพราะว่าเป็นตัวต้นแบบของการสอนเทคนิค mixed media ของคลาสอื่นๆ ที่เคยสอนมา . . การเรียนหลักๆ คือการได้ลองสร้าง textures จากสีอะคริลิก สีน้ำมัน สีชอล์กน้ำมัน และสีกวอช โดยวิธีการทั้งหมดนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากโปรเจคสมุดบันทึกถึงคุณยายของเรา (ดูลิงก์ได้ที่นี่) . เทคนิคจะค่อยๆ ไล่ลำดับจากเทคนิคง่ายๆ แต่ให้ผลดีอย่างอะคริลิกบนกระดาษผสมกับสีฝุ่น ไปจนถึงการสร้างพื้นผิวเบื้องต้นจากสีน้ำมันบนแม่พิมพ์กระดาษ การผสมกันระหว่างสีน้ำมันและสีชอล์กน้ำมัน . . ผู้เรียนจะได้รับโจทย์ที่เป็นการวาดรูปทรง organic เดี่ยวๆ และวาด character ตัวละคร ที่นำไปสู่การตีความเรื่องราว textures ทั้งหมดที่เรียนมาจะถูกนำมาใช้คอลลาจในภาพสุดท้าย . . ข้อดีของเวิร์กช็อปนี้คือมันสนุกมาก! เป็นการได้ท่องไปในดินแดนแห่งความอลหม่าน เลอะเทอะเปรอะเปื้อนจากเทคนิคที่ผู้เรียนไม่คุ้นเคย แต่ข้อเสียคือผู้เรียนแทบจะไม่ได้นั่งติดเก้าอี้เลย เพราะต้องทดลองเทคนิคจำนวนมาก ในเวลาที่จำกัด เรียกได้ว่าต้องมอนิเตอร์เวลาทุก 5-10 นาที และคุม timeline ให้เป๊ะมากๆ เวลาเกินไม่ได้เด็ดขาด . ดังนั้นใน คลาสหลังๆ (Adele) จึงได้มีการปรับแก้ในจุดนี้ ลดบางส่วนลง ปรับอุปกรณ์ที่ล้นเกินให้พอดีลงมาหน่อย และเกลี่ยให้มีช่วงเวลาที่ผ่อนคลายมากขึ้น ให้น้ำหนักและขยายเวลา กับการทดลองในบางเทคนิคมากขึ้น โดยอิงกับผู้เรียนเป็นหลัก . ดังนั้นชิ้นงานที่ได้กลับไปในแต่ละคลาสจะไม่เท่ากัน ซึ่งเราได้พบว่าเมื่อให้เวลากับบางจุดเยอะขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้ก็ออกมาน่าพอใจ ขนาดและจำนวนของชิ้นงานอาจจะลดลง แต่มันมีความเข้มข้นและได้กระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ทักษะการตีความมากขึ้น : ) . . จะว่าไปผลที่ได้จากแต่ละคลาสนั้นก็ไม่เหมือนกันเลย เป็นเพราะคนสอนเองนี่แหละที่ไม่อยากสอนซ้ำ เทคนิคอาจดูคล้าย แต่ในรายละเอียดและผลลัพธ์นั้นมีความแตกต่าง อย่างคลาส Extraordinary นี้ ก็ไม่ได้ให้ตีความ text ใดๆ เลย แต่เราเลือกใช้ลูกแอปเปิ้ลหิน เซรามิก และภาพโปสการ์ดเป็นตัวไกด์ภาพให้แต่ละคนแทน และเรื่องราวที่ทุกคนแต่งขึ้นมาก็น่ารักมากๆ . .…

Read More

Falling in love with textures

(1) Technique เวิร์กชอปการสร้าง texture จากเทคนิคผสมที่เราเคยจัดมา ไม่ว่าจะเป็นสีน้ำ สีน้ำมัน หรือสีอะคริลิก ส่วนใหญ่แล้วมีหลักง่ายๆ ร่วมกันคือเป็นกระบวนการพิมพ์แบบโมโนไทป์ แม่พิมพ์ที่ใช้มักเป็นแม่พิมพ์กระดาษ หรือวัตถุที่มีความเรียบและมัน เช่นแผ่นพลาสติก พื้นผิวที่ได้จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับลักษณะกระดาษที่ใช้พิมพ์ ร่องรอยการขูดขีดและทีแปรงที่เกิดขึ้นบนแม่พิมพ์นั้นๆ   . . . เราสามารถสร้างพื้นผิวจากการพิมพ์โมโนไทป์ได้แบบไม่รู้จบจากแม่พิมพ์อันก่อนหน้า ผลลัพธ์มีทั้งคาดเดาได้และไม่ได้ ทำให้การพิมพ์แบบนี้เป็นเรื่องสนุก . . . . . .   (2) Stories เรื่องเล่าจาก textures เหล่านี้เป็นเรื่องอะไรได้บ้าง . . . . คำตอบก็คือ เป็นอะไรก็ได้! เราสามารถใช้พื้นผิวที่แตกต่างกัน นำมาเรียงร้อยเชื่อมโยงให้เป็นเรื่องเดียวกันได้ ความเข้ากันอยู่ที่จังหวะการวางความต่อเนื่องของภาพ “เธอรออยู่ตรงนี้ รอเพื่อนผู้หญิงบ้าง รอเพื่อนที่ทำงานบ้าง รอรถไฟบ้าง รอให้ถึงตอนเย็นบ้าง เธอเป็นเด็กผู้หญิงคนหนึ่ง หากมีใครสักคนเอ่ยถามเธอ เธอจะกลายเป็นสาวเต็มตัว ภรรยาของเขามักขวัญอ่อนอยู่เสมอเวลาเขาพูดอะไร… จะให้เธอพูดอะไรดี พอเธอไม่พูด เขามักอารมณ์เสีย อาเดเลอยู่คนเดียวมาตลอด…

Read More

Workshop at Fathom Bookspace

I taught an easy monoprint from oil color and oil transfer technique for beginner at Fathom Bookspace.The theme was forest. All attendees bagan with small pieces before exploring their imaginative plants and animals in the bigger area. The final pieces are in the cover photo. * * * * * * * * * *…

Read More

My Spring Illustration Course at Sàrmede 2017 – Yodchat*Tinyline (3)

แรงบันดาลใจมาจากไหน ? และบันทึกว่าด้วยวิธีการสเก็ตซ์และขยายงานเป็นภาพจริง How to find your inspirations, transform it to a series of sketchs, and develop it to final artwork. * * :: Jesús Cisneros’s illustration course 10 – 15 April 2017 at Scuola Internazionale d’Illustrazione di Sàrmede :: [ part 1 , part 2 ] * * * “A herbarium is a classification, a…

Read More

Speed-Dating with two little jellyfishes in 15 minutes

(For English please scroll down /ไทย) ชวนกันมาทำ monoprint แมงกะพรุนจิ๋ว หนึ่งในกิจกรรม Speed-Dating วันเปิดงานนิทรรศการกลุ่มร่วมกับศิลปินเยอรมันจาก Spring Magazin และศิลปินไทย อาจารย์ผึ้ง วิทมน ที่ร้านหนังสือ Fathom Bookspace (ร้านหนังสือบรรยากาศงามย่านสวนพลู)  งานนี้จัดขึ้นโดย Goethe Institut Thailand ค่ะ What skill can we learn in 15 minutes? Speaking new languages? Doing easy yoga poses? Quick cooking from new recipe? If you ask me, my answer is we can learn how…

Read More

My Spring Illustration Course at Sàrmede 2017 – Yodchat*Tinyline (2)

( For English please scroll down / ไทย ) ความทรงจำ สีน้ำมัน และไฮกุ How to swim in our memories with oil transfer technique and Haiku.    :: Jesús Cisneros’s illustration course 10 – 15 April 2017 at Scuola Internazionale d’Illustrazione di Sàrmede :: Part2 (For part 1, please follow this link   , and this link for part 3…

Read More

My Spring Illustration Course at Sàrmede 2017 – Yodchat*Tinyline (1)

ตาของเรา มือของเรา และใจของเราที่ Sàrmede (For English please scroll down /ไทย) :: Jesús Cisneros’s illustration course 10 – 15 April 2017 at Scuola Internazionale d’Illustrazione di Sàrmede :: Part1 (please follow this link for part 2 , and this link for part 3) ชั้นเรียนของเรามีด้วยกันทั้งหมด 10 คนค่ะ มีเราและเพื่อนของเรา-แมงโก้ ที่มาจากไทย นิโคลจากไต้หวัน โจอันนาจากเยอรมัน(เธอรู้ทั้งสเปน เยอรมัน และอังกฤษเลยช่วยเราได้มากในชั้นเรียน) เอเลน่า คลอเดีย โรซานนา จูเลีย และคิอาร่า…

Read More

แผ่วเบาก็เท่าเพียง-แต่เสมอเธอจะรับ / The gold of the bell chime still echoes.

“ถึงมันจะเป็นแค่เวิร์คช็อป 1 วัน แต่เรารู้สึกว่าข้างในตัวเราในเวลา 11 โมงกับ 4 โมงเย็นต่างกันพอควร” Mango’s note: “เราทดลองแต่ละกระบวนการด้วยเริ่มต้นจากนับ 1, 2, 3, 4 ก็จริง แต่พบว่าบางอย่างไม่ต้องเกิดขึ้นแบบเป็น consequences หรอก ไม่จำเป็นต้องทำสิ่งนี้ เพื่อให้เกิดสิ่งนั้น จะว่าไปมันก็เป็นโมเมนต์ที่เซนมากๆ ที่ได้เห็นความจดจ่อที่เรากระทำด้วยเทคนิคแบบหนึ่ง พาไปสู่อีกรูปร่างหรือการใช้งานอีกอย่างที่ไม่ได้อยู่ในแผนการแรกเริ่ม แต่ทั้ง 2 กระบวนการกลับมีความเข้ากันได้ และเราพอใจที่ได้เห็นมันอยู่ร่วมกันแบบนั้น จังหวะนั้นแหละที่รู้สึกว่าเซนมากๆ     หลังจากไม่ได้วาดรูปมาเป็นปีๆ การฝึกใช้ทั้งหมึกจีน สีน้ำ สีฝุ่น สเก็ตช์การเคลื่อนไหว ทดลองหาความเป็นไปได้หลายๆ แบบด้วยกระดาษและพู่กันที่ต่างกัน เหมือนทำให้เราได้เข้าไปสะกิดอะไรบางอย่างข้างในให้ออกจากภาวะเงื่องหงอยซึมเซาซะที ถึงมันจะเป็นแค่เวิร์คช็อป 1 วัน แต่เรารู้สึกว่าข้างในตัวเราในเวลา 11 โมงกับ 4 โมงเย็นต่างกันพอควร ความกล้าๆ กลัวๆ ลดน้อยถอยลง ไม่ค่อยเกร็งหรือคิดสะระตะว่า การป้ายสีแบบนั้น กดน้ำหนักแบบนี้จะนำไปสู่อะไร แต่ยังไม่ถึงขั้นที่ว่าปล่อยให้ข้างในตัวเองพาไปอย่างที่พี่ปลายไกด์ให้หรอกนะ แค่รู้สึกสบายใจขึ้น กรุ้มกริ่มทั้งในใจและนอกใจว่าเพลินดีจังเลย พร้อมกับประหลาดใจไปด้วยว่า…

Read More

Ephameron (Eva Cardon)

ศิลปินจากบรัสเซลล์ผู้กลายมาเป็นคุณแม่ลูกหนึ่งและกำลังทำโปรเจคหนังสือเล่มใหม่ว่าด้วยความเป็นแม่ : ) http://www.ephameron.com * * * * * * * * * * * * * * * * * ความหมายของ Ephemeron คือ แมลงที่มีชีวิตอยู่ในชั่วระยะสั้นๆ (Origin From Greek, neuter of ephēmeros ‘lasting only a day’. – oxford dictionary) คุณ Eva Cardon เลือกคำๆ นี้มาใช้แปลงเป็นนามแฝงของตัวเองที่ชื่อ “Ephameron” “We’re at the movies, and the room is getting very crowded.…

Read More

Guest lecturer: Visual narrative class at CommDe, Chulalongkorn University

ตามไปดูกันว่าเราเรียนอะไรกันบ้างใน Visual narrative class ที่ CommDe เมื่อวันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ค่ะ ขอขอบคุณน้องโอ๊ต มณเฑียร ที่ชวนไปแชร์ประสบการณ์สนุกๆ (ที่มีทั้งกระบวนการวาดภาพของเราเองและคลังหนังสือภาพสวยๆ ที่เรารัก) เป็นปีที่สอง รวมไปถึงเอื้อเฟื้อภาพถ่ายบรรยากาศในคลาสที่นำมาลงไว้ในนี้ด้วยค่ะ [โพสต์นี้มีภาพทั้งหมด 16 ภาพ และลิสต์รายชื่อหนังสือทั้งหมดในตอนท้าย + ลิงก์อธิบายเบื้องหลังกระบวนการทำหนังสือในบางเล่มค่ะ] หลังฉายสไลด์แนะนำตัวกันเล็กน้อยเราก็มาเริ่มกันที่งานภาพประกอบลายเส้นตั้งแต่เมื่อ 10 ปีก่อนกับมติชนนั่นก็คือเรื่อง ขบวนการเด็กหญิงปากตลาด (ซึ่งตอนนี้ out of stock ไปจากเวปไซต์ของมติชนแล้วเช่นกัน) ตามมาด้วยงานหนังสือเด็กเมื่อ 5 ปีก่อนกับสำนักพิมพ์สถาพรบุ๊คส์ ปิ่นโตสามัคคี ซึ่งขณะนี้กำลังจัดแสดงอยู่ที่เวโรนา-อิตาลี สองเล่มนี้มีความคล้ายกันตรงที่เต็มไปด้วยแอคชั่นของก๊วนแก๊งค์เด็กๆ เราบอกน้องๆ ว่าเวลาวาดภาพแบบนี้นอกจากจะมีภาพอ้างอิงที่มาจากวัยเด็กของตัวเองแล้ว เรายังทดลองทำแอคชั่นต่างๆ ตามท่าทางที่ต้องวาดเพื่อให้เข้าใจได้ใกล้เคียงความรู้สึกของเด็กๆ เวลาทำท่าทางนั้นๆ อีกด้วย และถ้าว่าถึงเรื่องแอคชั่นของเด็กๆ เราจะเข้าใจได้อย่างไรถ้าไม่ไปสังเกตเด็กจริงๆ เล่นกัน ครั้งนี้เราเลยนำเซ็ตภาพเด็กญี่ปุ่นที่เคยถ่ายไว้ช็อตต่อช็อตประมาณ 200 กว่าใบมาให้น้องๆ ได้ดู แต่แน่นอนว่าเราไม่แนะนำให้น้องๆ ทำตามนะคะเพราะมันผิดกฎหมาย(แต่ตอนถ่ายตอนนั้น-ซึ่งก็นานมากแล้ว พี่เองก็ยังไม่รู้เหมือนกันน่ะสิ!) โอ๊ตเสริมว่า จริงๆ การออกไปถ่ายภาพมาเป็นข้อมูลทำงานนี่เร็วกว่าการมานั่งหาภาพอ้างอิงใน pinterest อีกนะ ซึ่งอันนี้ก็เห็นด้วยเหมือนกันเนื่องจากภาพถ่ายจาก pinterest เองก็ไม่ได้มาจากสายตาและมุมมองของเรา…

Read More