( For English please scroll down / ไทย )
ความทรงจำ สีน้ำมัน และไฮกุ
How to swim in our memories with oil transfer technique and Haiku.

:: Jesús Cisneros’s illustration course 10 – 15 April 2017 at Scuola Internazionale d’Illustrazione di Sàrmede ::
Part2
(For part 1, please follow this link , and this link for part 3 )
*
‘How changed you are! Where did you learn to be such a good boy? ‘
‘Oh, I’ve learned a great many things.’
‘Like what?’
‘That the Devil is not so devilish. That insects and reptiles are not so bad, that drawing is not so hard, that falling in love is beautiful, that there’s nothing quite as good as having friends, that happiness exist, and sometimes happiness has the face of a dog. That being brave means being scared but not paying attention to it, not caring about the fear. That being locked in a tower can be almost fun; that writing keeps memories alive, and that seeing one’s mother again is the greatest happiness of all. ‘
‘You’ve learnt a lot. Who taught you all this? Which books did you read? Which tower are you talking about? Who have you met?
The Topless Tower (p. 53) / La torre sin fin ✏ written by Silvina Ocampo ✏ translated by James Womack ✏ published by Hesperus Press Limited
*

*
ในงานของนักเขียนหญิงชาวอาร์เจนตินา ซิลวินา โอแคมโป ที่ชื่อ “The Topless Tower” เด็กชายวัยแปดขวบหลงเข้าไปในภาพเขียนหอคอยไร้หน้าต่าง ไร้ประตู ที่ชายแปลกหน้านำมาเร่ขาย เขาหาทางออกไม่ได้ สองสิ่งที่เขาทำได้ในหอคอยนั้นคือการวาดภาพและการเขียน
เขาพยายามวาดภาพสิ่งที่อยู่ในความทรงจำ บุคคลที่รัก-ภาพแม่นั่งถักนิตติ้งอยู่ใต้ต้นไม้ เขาวาด ตา ปาก หู จมูก และผมของแม่ “He drew a thousand mounts as he tried to remember his mother’s mouth, a thousand heads of hair as he tried to remember hers, a thousands noses, a thousand ears, a thousand necks, a thousand eyes, a thousand hands.” สถานที่ที่เคยไป-ภาพแม่น้ำที่เขาเคยลงไปแหวกว่าย ต้นวิลโลว์บนฝั่ง เรือใบที่แล่นผ่านไปซึ่งคล้ายกับผีเสื้อ สิ่งที่เขาชอบ-จักรยานแข่ง คอมพิวเตอร์ และสิ่งที่เขาอยากกินอย่างพาย องุ่น และแอปเปิ้ล ในที่สุด เขาวาดภาพสิ่งที่เขาไม่คิดว่าจะวาดเพราะมันไม่ได้อยู่ในความทรงจำของเขามาก่อนเลยนั่นคือสาวน้อยน่ารักที่ชื่อ Ifigenia
Ifigenia บอกเขาว่าเธอมีชีวิตอยู่ในรูปภาพ “I live wherever it is a drawing lives. I can’t tell you more. This is the first bit of world I’ve seen, the first air I’ve breathed, the first sensations I’ve felt, the first object I’ve touched.” เธอสงสัยเสียจริงว่าทุกอย่างที่เด็กชายวาดขึ้นมานั้นจะกลายเป็นความจริงหมดเลยหรือ “Everything I’ve drawn until now, at least” เด็กชายตอบ
*
*

*
*
ในชั้นเรียนของคุณครูเฆซุส พวกเราได้เรียนรู้เทคนิคที่ชื่อว่า Oil transfer ครูบอกพวกเราว่านี่เป็นเทคนิคที่ครูคิดขึ้นมาระหว่างทดลองทำงาน อุปกรณ์ที่ต้องใช้มีสีน้ำมัน น้ำมันลินสีด แปรง กระดาษสาญี่ปุ่น และกระดาษสำหรับพิมพ์งาน ครูให้พวกเราวาดสามสิ่ง นั่นคือ นก แมลง และพืช
*
*
After flower alphabet lesson, Jesús began the new technique which required a lot of oil color and Japanese paper. This technique was called Oil Transfer. Jesús told us that nobody teach him this technique. He has found it by himself. I was impressed. I never knew that we could use oil color with normal paper. For me, oil color was for canvas. But in this class, we had a chance to learn his unique language; how could we ‘speak’ our personal things though this oil transfer process.
*
*

*

*
วิธีการทำนั้นมีขั้นตอนง่ายๆ เราใช้กระดาษเปล่าที่มีความหนาเกิน 100 แกรมมาเป็นแม่พิมพ์งาน โดยทาสีน้ำมันลงไปให้ทั่วบริเวณที่ต้องการพิมพ์ จากนั้นใช้กระดาษสาญี่ปุ่นซับสีส่วนเกินออกจากกระดาษที่เป็นแม่พิมพ์ อาจะใช้ฟองน้ำหรือกระดาษทิชชู่ช่วยซับเพื่อความสม่ำเสมอของระนาบสี
จากนั้นวางกระดาษที่เป็นแม่พิมพ์คว่ำลงบนกระดาษที่ต้องการพิมพ์ ใช้ดินสอวาดภาพลงไปบนกระดาษแม่พิมพ์ที่คว่ำอยู่ หากต้องการพื้นผิวจากสีน้ำมันที่นอกเหนือไปจากลายเส้นให้ใช้กระดาษทิชชู่หรือฟองน้ำกดย้ำน้ำหนักบริเวณที่ต้องการ เมื่อยกแม่พิมพ์กระดาษออกเราจะเห็นลายเส้นและพื้นผิวที่เรากด ปรากฏอยู่บนกระดาษที่ต้องการพิมพ์ ผลลัพธ์ที่ได้จะคล้ายกับภาพพิมพ์โลหะร่องลึกหรือ Etching ค่ะ
*

*

*

*

*

*
*

*
The process is simple. It is planographic printing which means printing from flat surface. The image is created by applying oil color on one piece of first paper (this paper as plate for printing) , then using Japanese paper to absorb some thick oil color on that paper. After that lay this paper on to second paper (paper for the outcome printing) , rub or draw on the another side of first paper then all lines and textures will appeared on the second paper.
*

*

*

*

*

*

*
It was like using carbon paper for typewriter. I could controlled how hard the texture would be by limiting my hand preseure on paper. The results were nearly etching printing.
*
Jesús asked us to draw birds, insects and plants. Here were my classmates works. Their lines were so free, simple and clean. Comparing to mine, I found that at some point I was not relaxed as I thought. Little by little, I did understand, not by my head but my hands, oil transfer technique could gave me a freedom to draw in many ways.
*
*
*
นี่คือผลงานของเพื่อนๆ ค่ะ น่ารักมาก ลายเส้นสะอาด และเรียบง่าย จนพอกลับมาดูผลงานตัวเองแล้วรู้สึกว่าเกร็งไปสักนิดหรือเปล่านะ พอได้เห็นลายเส้นหลายๆ แบบแล้วก็พบว่าเทคนิคนี้มีอะไรให้เล่นสนุกได้อีกเยอะ
*
*
*
*
*
Because there were only 10 students, we had enough space to group our works on the table and see together.
เมื่อวาดเสร็จแล้วทุกคนก็นำงานออกมาวางเรียงกันบนโต๊ะยาวค่ะ งานของนักเรียนสิบคนนี่ก็เต็มโต๊ะแล้วล่ะ
*

*
เราชอบเวลาที่ทุกคนเอางานมาวางเรียงกันเต็มโต๊ะค่ะ มองดูแล้วเหมือนป่าขนาดย่อม
*
*
*
*
*
*
*
Then Jesús finished his writing on the white board. There were 10 Japanese poems or Haiku for us. We could chose one Haiku that we like and matched it with our selected two oil transfer illustrations. We used these two illustration as sketches and continue to develop them to six illustrations related to our interpretation from the selected Haiku.
*
*
I chose Haiku number four.
“I speak the language of the flower
In vain:
The flower does not answer me. “
For illustrations, I chose bird and insect.
*

*

*
หลังจากวาดนก แมลง และพืชเสร็จ ครูให้เราดูไฮกุสิบบท ให้เลือกมาหนึ่งบทที่เราชอบ และคิดว่าเข้ากับภาพ oil trasfer สองภาพที่เราจะต้องเลือกจากงานทั้งหมดที่ทำมา เราเลือกภาพนกและแมลง และเลือกไฮกุบทที่สี่
“I speak the language of the flower
In vain:
The flower does not answer me. “
ครูให้เรานำภาพที่เลือกมาพัฒนาต่อ เป็นการตีความบทกวีมาเป็นภาพโดยใช้ภาพนกและแมลงเป็นภาพอ้างอิงเริ่มต้น ผลที่ได้คือหนังสือเล่มจิ๋วข้างล่างนี้ค่ะ
เราตีความไฮกุบทนี้ว่าเป็นสถานการณ์ที่ความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนและถ้อยคำที่จะใช้สื่อสารกันได้ก็ถูกทำลายลง เราวาดผู้หญิงที่เป็นครึ่งคนครึ่งนก และผู้ชายที่เป็นครึ่งคนครึ่งแมลง ทั้งสองหันหน้าเข้าหากัน ถัดมาแมลงก็ถูกกิน(ทำลาย)โดยนก แต่ในท้ายที่สุดผู้หญิงกลับกลายเป็นครึ่งคนครึ่งแมลง และผู้ชายกลายเป็นครึ่งคนครึ่งนก ต่างฝ่ายต่างหลงเหลือร่องร่อยของอีกฝ่าย(หรือกลายมาเป็นอีกฝ่าย)โดยไม่รู้ตัว
*

*

*

*

*
My interpretation from this Haiku was about complicated relationship which words were destroyed. There, I had half-bird woman and half-insect man. They coud not understand each other, then one destroyed another ( bird eat insect). But after that, woman became to half-insect and man became to half-bird. They left some part of themselves to each other.
*
*
*
*
Haiku allowed us to pull out our memories. The way Jesús arranged this illustration making process was amazing. He did not tell us what were we going to do. Step by step, we traced our experiences through our lines. We knew birds, insects and plants. We recalled and transformed them in our head or may be our heart. Almost like the flower alphabet lesson but a little bit different; the moment you transfered your drawings you thought twice, first was “what am I going to draw?” and then “How could my drawing looks like after I press this trasfer paper?”
Poems had many hidden massages. You had to think twice when you read them. Oil transfer thinking process was close to the way we read poem.
Jesús did not tell us that we were going to make illustrations for Haiku because he encouraged us to explore our experiences and memories. When we got them, he gave us many choices to go further. He gave us poems and of course we selected the one that related to our lives.
*
*
*
*
*
*
วิธีที่คุณครูลำดับการสอนนั้นน่าประทับใจมาก ครูไม่ได้บอกเราว่ากำลังจะทำหนังสือ หรือวาดภาพประกอบบทกวี ครูแค่แนะนำเทคนิค oil transfer และให้เราทดลองวาดพืชและสัตว์ และนั่นนับเป็นการสเก็ตช์งานโดยไม่รู้ตัว ถัดมาครูเปลี่ยนจากเลือกภาพมาเป็นคำ เป็นบทกวี และไฮกุอนุญาตให้เราดึงความทรงจำของตัวเองออกมาผ่านถ้อยคำสั้นๆ เราก้าวไปอีกขั้นโดยการนำภาพสเก็ตซ์มาตีความต่อโดยผ่านบทกวี ลายเส้นง่ายๆ เหล่านี้อาจไม่เกิดขึ้นเลยถ้าเรารู้ตัวว่าเรากำลังจะทำอะไร
ที่น่าสนใจคือการจับคู่ไฮกุกับเทคนิคนี้ เราคิดว่ามันมีบางอย่างที่เชื่อมโยงกัน สำหรับบทกวี เราต้องอ่านความหมายที่ซ่อนอยู่ นั่นเท่ากับเป็นการอ่านซ้ำ เช่นเดียวกับเทคนิค oil transfer ที่ต้องวาดซ้ำและวาดผ่านสิ่งที่จะทำให้เกิดร่องรอย พอสองอย่างนี้มาบรรจบกันมันจึงมีความลึกเมื่อเราจุ่มตัวเองลงไปในขั้นตอนการตีความ
*
*
*
*
*
We went back to the sketch table. Jesús opened his sketchbook and showed us how to combine two different things to make the new one. The examples were taken from our oil transfer drawing.
จากโต๊ะบทกวีไฮกุ เราย้ายกลุ่มกลับมาที่โต๊ะสเก็ตซ์งาน ครูได้บันทึกรูปร่างพืชและสัตว์ที่พวกเราสเก็ตซ์ผ่าน oil transfer กันเอาไว้ ครูนำพวกมันมาผสมกัน เช่น แมลง + พืช / นก + ดอกไม้ ครูบอกว่านี่เป็นวิธีในการสร้างรูปทรงและความหมายใหม่ๆ ขึ้นมาค่ะ
*
*

*

*

*
*
These were slide showing Jesús’s oil transfer works which were very beautiful.
One thing that I has to mention here is Jesús is not draw from any photos. He draw from his memories. When one has remembered/collected enough precious things, one has found his own library .
ครูเฆซุสไม่ได้วาดภาพจากรูปถ่าย ทั้งเส้น สี และความรู้สึกที่ปรากฏอยู่บนภาพเหล่านั้นถูกเก็บสะสมและถูกเรียกออกมาใช้จากห้องสมุดความทรงจำของครูเอง และภาพข้างล่างนี้เป็นผลงานส่วนหนึ่งของครูค่ะ
*
*
*
*
*
*
*
( To be continued / รอติดตามตอนต่อไปนะคะ)
*** : ) ***