The English Governess at the Siamese Court & The Romance of The Harem

For more information in English, please visit >> this link <<
.
“ไม่เป็นไร พูดเถอะ อย่ากลัวเลย

เป็นความจริงและมีจริง
ทุกเนื้อถ้อยกระทงความ
ใบไม้ซึ่งค่อยๆ เริ่มไหวกระดิก
สั่นศีรษะมีกิริยา
เบาเกือบไม่ได้ยิน

จะได้รู้เรื่องราวอันน่าประหลาด
ฉงนสนเท่ห์
ตามรอยบรรจบของแผ่นหิน
กังวานหวานเจื้อยและทรงอำนาจ
ความลี้ลับแห่งอนุสรณ์
ผู้ใดจะอยู่ก็ยินดีรับไว้
ผู้ใดจะไปจาก
ถือตะเกียงนำทางไปส่ง”
 #TAAIAT
.
.
*หมายเหตุ 
ต้นฉบับงาน paper cutting art ในครั้งนี้ ใช้กระดาษ Rives Tradition 120 gram จาก Antalis Thailand สำหรับกระดาษที่ใช้พิมพ์ปกคือ ROYAL SUNDANCE® PAPERS BRILLIANT WHITE LINEN (RSL 181-2)

THE_ENG_THE_ROMANCE_YodchatTinyline_YodchatBupasiri1.7

.
“ตอนที่ได้รับโอกาสให้ทำปกทั้งภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษของแหม่มแอนนา เราคิดว่านี่คือจุดเริ่มของเส้นทางประหลาดที่เชื้อเชิญให้เราแง้มดูภาพประวัติศาสตร์ของไทยคู่ขนานไปกับเหตุการณ์ต่างๆ ในปัจจุบัน มันทำให้เราได้ทบทวนความคิดและจุดยืนของตนเองในประเด็นอ่อนไหวหลายประเด็น บางเรื่องมีคำตอบแน่ชัดให้กับตัวเองแล้ว แต่บางเรื่องก็ยังคงเป็นปริศนาต่อไป”
.
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2560 เราได้รับอีเมลฉบับหนึ่งจาก Shine Publishing ไถ่ถามว่าสนใจอยากทำปกหนังสือ “นิยายรักในราชสำนักฝ่ายใน” ของ Anna Leonowens ฉบับแปลโดยครูอบ ไชยวสุ ไหม “อยากให้คุณปลายรับทำครับ” บรรณาธิการเขียนเช่นนั้น
.
เราตอบกลับไปว่า “ได้อ่านต้นฉบับแล้ว พบว่าเป็นงานที่น่าสนใจจริงๆ” น่าจะตอบไปทำนองนี้และยังขยายด้วยอีกว่าเราไม่น่าจะทำได้ เพราะสไตล์งานไม่น่าจะใช่ เพราะบรรณาธิการมีภาพในหัวค่อนข้างชัดเจนอยู่แล้ว เกรงว่าเราอาจจะทำได้ไม่ตรงกับภาพนั้น (อีกทั้งไม่เคยนับว่าตัวเองเป็นคนออกแบบปก เราชัดเจนว่าเราวาดภาพประกอบเท่านั้น) มีทั้งเรื่องเวลา และเรื่องงบประมาณที่ไม่ตรงกัน สรุปว่าตอนนั้นได้ตอบปฏิเสธไป งานค่อนข้างซีเรียสและไม่แน่ใจว่าจะทำได้ไหว
.
THE_ENG_THE_ROMANCE_YodchatTinyline_YodchatBupasiri1.3
.

หลังจากนั้นเราได้รับอีเมลยาวเหยียดจากบรรณาธิการ เมื่อค่อยๆ อ่าน ก็พบว่าไม่ใช่เพียงแค่ปก “นิยายรักในราชสำนักฝ่ายในเท่านั้น” สำนักพิมพ์ยังมีโครงการที่จะจัดพิมพ์ต้นฉบับภาษาอังกฤษของแหม่มแอนนาอีกด้วย  (The English Governess at the Siamese Court & The Romance of the Harem) นี่เป็นโปรเจคใหญ่สำหรับสำนักพิมพ์ สำนักพิมพ์ยินดีที่จะปรับเปลี่ยนเงื่อนไขต่างๆ  เดตไลน์จะถูกขยายออกไป งบประมาณจะถูกเพิ่มขึ้นมา (โปรเจคนี้ค่อนข้างสำคัญ ผมยินดีลงทุนเพิ่ม – บรรณาธิการเขียนมาเช่นนี้) เรื่องไอเดียในการทำปกจะค่อยๆ ปรับกันไป ซึ่งส่วนที่ได้ใจและประทับใจเรามากที่สุดคือประโยคท่อนต่อไปนี้
.

“…ใช้เวลา “มองหา” คนออกแบบปกอยู่นาน แล้วก็ไม่ได้ติดต่อใครเลย…จนถึงขณะนี้คุณปลายเป็นคนเดียวที่ผมติดต่อ…ถ้าคุณปลายต้องการแมททีเรียลอะไรจากสำนักพิมพ์ก็บอกมาได้ ผมยินดีให้ข้อมูลเกี่ยวกับสำนักพิมพ์และหนังสือเพื่อให้งานออกมาดีที่สุด…”

.
THE_ENG_THE_ROMANCE_YodchatTinyline_YodchatBupasiri21.
THE_ENG_THE_ROMANCE_YodchatTinyline_YodchatBupasiri1.2

.
หลังจากนั้นเราได้ขอไฟล์ต้นฉบับของ “นิยายรักในราชสำนักฝ่ายใน” ทั้งหมดมาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ ตอนนั้นเองที่ตัดสินใจว่า ภาพที่เราคิดเอาไว้นั้นทำคนเดียวไม่ได้แน่ๆ แบบนี้ต้องใช้มืออาชีพอีกคนมาช่วย โชคดีเหลือเกินที่พี่บัว @COLLAGECANTO ศิลปินนักตัดกระดาษตกลงรับปากทันที ทำให้มั่นใจยิ่งขึ้นในการนำเสนอแนวทางภาพปกกับสำนักพิมพ์ หลังจากการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับแอนนาและครูอบอย่างหนักก็ได้แนวทางการทำปกออกมาและลองนำเสนอสำนักพิมพ์ ปรากฏว่านั่นเป็นการนำเสนอครั้งแรกแล้วผ่านเลย ไม่มีปรับแก้ใดๆ >> อ่านลิงก์บันทึกการทำงาน เล่มนิยายรักฯ ได้ที่ >> https://wp.me/p1GCLr-2CA
.

TAAIAT_YodchatTinyline_YodchatBupasiri1
.
ในระหว่างและภายหลังการทำงานปก “นิยายรักในราชสำนักฝ่ายใน” เนื้อสารของแหม่มแอนนาและวิธีแปลของครูอบ ไชยวสุ มีอะไรที่ชวนฉงน ในตอนนั้นภาพในอดีตของแหม่มแอนนา บรรยากาศบ้านเมืองสมัยที่ครูอบแปลและเผยแพร่งานชุดนี้ ได้มาซ้อนทับเข้ากับยุคสมัยของเราผ่านกระบวนการทำงานชุดหนึ่งที่ชื่อ TAAIAT ของเราเอง จากเริ่มแรกเราแค่ทำปก แต่กลายเป็นว่าเราได้งานชุดใหม่เพิ่มขึ้นมา

TAAIAT_YodchatTinyline_YodchatBupasiri2
.
งานชุดนี้มีชื่อเริ่มแรกว่า “ภาพประกอบของนิยายรักในราชสำนักฝ่ายใน” ภายหลังเราได้ปรับชื่อใหม่ให้เป็น They are all Illustrations, aren’t they?   [#TAAIAT] เป็นงานอันเกี่ยวเนื่องกับ “นิยายรักในราชสำนักฝ่ายใน” ฉบับของครูอบ โดยจะผสมผสานเอาภาพและคำเข้าไว้ด้วยกัน [ ณ ตอนนี้ (มีนาคม 2563) ก็ยังคงอยู่ในกระบวนการจัดทำ] หากเราไม่ได้รับทำปกให้กับ Shine Publishing เมื่อสามปีก่อน งานชุดใหม่นี้ก็ไม่มีโอกาสได้เกิดขึ้นมาเลย ขอขอบคุณสำนักพิมพ์มอบโอกาสในการทำงานที่แสนพิเศษนี้ให้โดยอ้อม
.

(จากบันทึกที่เราจดไว้)
In the past century, Anna’s text has been reinterpreted in numerous ways by many of scholars, literary essayists, writers, and translators. Jayavasu’s interpretation is one of the most significant Thai historical drive. Reading and crosschecking both Anna’s and Jayavasu’s text during my book cover making process exceedingly affected my perception on interpretation: the correctness of an interpretation is not inherent in text but relies to the external discourse.This awareness has aroused me to reconsider a collage technique which I used in my poems many years ago.

Collage has been used as an umbrella term covering the form of collage art by both writers and visual artists for years. Jayavasu’s interpretation is similar to this technique in term of adjusting the original text to create the new one. On the 5th edition, around four years after the death of King Ananda Mahidol, Jayavasu implicitly indicated in his preface that there were intentional mistakes in his translation because of the political situation. He changed the characters names, cut off Leonowens’s preface and the following notes, and distorted numerous sentences on purpose, yet the major structure of Leonowens’s stories were nearly the same and his translation came out beautifully. In my opinion, Jayavasu wisely highlighted Anna’s original text by distorting his translation in details, and this was the way he censored himself under a fluctuation of the political situation at that time.

To develop this idea, I created the collected collage poems “The Illustrations of the Romance of the Harem” by using Jayavasu’s translation (Shine Publishing edition) as my material. I selected words or sentences then cut them out of their contexts, relocated a great deal of morphemes and gave them the new meanings. 

#TAAIAT
.
“เราเดินย่ำไปบนเส้นทางเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไม่มีความจริงแท้ใดเป็นสิ่งใหม่ในปัจจุบัน” 
อ่านสยามตามแอนนา (ฉบับแปลไทยจาก The English Governess at the Siamese Court)
หน้า 229 แปลโดย คุณสุภัตรา ภูมิประภาส และคุณสุภิดา แก้วสุขสมบัติ
.

THE_ENG_THE_ROMANCE_YodchatTinyline_YodchatBupasiri24
.
ในระหว่างที่การทำงานชุด #TAAIAT ได้ดำเนินต่อไป เราก็ได้ทำปกหนังสือเล่มที่สองไปพร้อมๆ กัน (พ.ศ. 2561 – 2562) นั่นคือปกสำหรับต้นฉบับภาษาอังกฤษที่ชื่อ “The English Governess at the Siamese Court & The Romance of the Harem” ซึ่งเป็นภาพชุดที่ทุกคนได้เห็นอยู่ในขณะนี้ ถ้อยคำและความคิดใน #TAAIAT และกระบวนการคิดปก The English & The Romance ได้เลื่อนไหลเข้าหากันอยู่ตลอดเวลา ถ้อยคำที่ถูกสลับตัดต่อและ elements ของปกที่ถูกปรับเปลี่ยนความหมายเสียใหม่นั้นเป็นวิธีที่คล้ายคลึงกัน
.
สำหรับการทำปก The English & The Romance ครั้งนี้ยังคงใช้เทคนิคและการตีความต่อจากปก นิยายรักในราชสำนักฝ่ายใน ( อ่านที่นี่แต่ที่แตกต่างออกไปคือวิธีการในการเข้าถึงข้อมูลซึ่งสามารถอ้างอิงจากชิ้นงานประวัติศาสตร์ซึ่งจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยได้ ไม่ใช่เพียงแค่ข้อมูลแห้งๆ บนหน้ากระดาษอีกต่อไป
.
(ต่อไปนี้จะเป็นภาพเบื้องหลังการทำงานปกจำนวน 18 ภาพซึ่งเราทำร่วมกันกับพี่บัว)
.

Bua__Collagecanto_YodchatBupasiri_YodchatTinyline_TheEnglish1
พี่บัวที่สตูดิโอของตัวเอง กำลังตัดลูกไม้ในปก The English

.

collagecanto_Anna1_ YodchatBupasiri_YodchatTinyline_TheEnglish12
พี่บัวที่สตูดิโอของตัวเอง กำลังตัดลูกไม้ในปก The English

.

draft the english_Collagecanto_YodchatBupasiri_YodchatTinyline_TheEnglish17
นี่คือลูกไม้ชั้นแรกที่เราออกแบบ และพี่บัวตัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ดัดแปลงมาจากลูกไม้ผ้าเช็ดหน้าและเสื้อชุดนอนของผู้หญิงชาวอเมริกันในช่วงเวลาที่แหม่มแอนนาย้ายไปอยู่อเมริกา

.

draft the english_YodchatBupasiri_YodchatTinyline_TheEnglish15
เลย์เอาท์ปกหน้าที่เราวางไว้ตอนแรก ลูกไม้อังกฤษที่นำมาใช้วางนี้ The Metropolitan Museum ระบุว่าเป็น cover แต่ไม่ได้บอกว่าใช้สำหรับอะไร อาจจะเป็นเตียงหรือโต๊ะก็ได้

.

The English Governess at the Siamese Court_Anna Leonowens_wip bookcover by yodchat bupasiri_draft the english_Collagecanto_YodchatBupasiri_YodchatTinyline_TheEnglish18
ช่วงที่เรา study ผ้าขาด ซึ่งตอนแรกคิดจะใช้กับปกหน้า

.

IMG_20180518_171115_287
ลองนำลายที่เทสกับปกนี้ไปเทียบเคียงกับปกแรก

.

YodchatBupasiri_YodchatTinyline_TheEnglish1
ลูกไม้และเส้นด้ายขาดที่เราทดลองตัด ตอนแรกคิดจะใส่ลายเซ็นของแหม่มแอนนาลงไปด้วย แต่สุดท้ายปรับเป็นโมโนแกรมแทน

.

YodchatBupasiri_YodchatTinyline_TheEnglish14
ช่วงแรกจะให้ขาดประมาณนี้เลย แต่ก็ใช้ไม่ได้จริง เพราะค่อนข้างแบนเกินไป

.
ภาพปกร่างแรกๆ นั้นได้แรงบันดาลใจมาจากบท My Retirement from the Palace ของเรื่อง The English Governess at the Siamese Court ซึ่งบอกเล่าความเหนื่อยล้าทั้งกายและใจของแอนนาในการใช้ชีวิตและปฏิบัติงานในพระราชวัง มีความหวาดกลัว ความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจ และความขัดแย้งระหว่างแอนนาและคิงมงกุฎในหลายๆ ครั้ง แอนนาระบุว่า It was, indeed, a time of terror for us. I felt that my life was in great danger… สายสัมพันธ์ที่เกาะเกี่ยวแอนนาไว้กับชีวิตในพระราชวังค่อยๆ หลุดรุ่ยไปทีละเส้น จนมาถึงจุดที่เธอตัดสินใจไปจากสยาม ภาพปกนี้ต้องการสื่อโมเมนต์นั้นของแอนนา แต่สุดท้ายแล้วลวดลายหลุดรุ่ยของผ้าขาดทำให้ภาพโดยรวมมีความแบนเกินไปไม่มีมิติ ดังนั้นปกจึงถูกปรับเปลี่ยนใหม่อีกครั้ง
.

YodchatBupasiri_YodchatTinyline_Anna_testing
ช่วงที่ทดสอบลายลูกไม้สำหรับ The English

.

YodchatBupasiri_YodchatTinyline_TheEnglish5
ขณะนำลายจากเล่ม “นิยายรักในราชสำนักฝ่ายใน” มาเทียบเคียง มุมขวาบนเป็นลายลูกไม้ต่างๆ ที่เราศึกษาไว้

.

yodchattinyline_yodchatbupasiri_Anna_Leonowens
ขณะที่เราทำแพทเทิร์น ดราฟด้วยดินสอและหมึกดำหลายชั้น

.

66385870_10157591413940712_4829510073732562944_o
การทำงานปกนี้เราใช้วิธีว่า หากวาดแพทเทิร์นยังไม่เสร็จ ไม่ว่าอย่างไรก็จะรีบส่งต่อให้พี่บัวตัดก่อน ให้ตัดเท่าที่จะทำได้ แล้วนำกลับมาวาดต่อ เนื่องจากปัญหาสุขภาพของพี่บัวนั่นเอง

.
ทดลองทำม็อกอัพดูว่าควรเลือกสันปกสีดำหรือสีขาว
.

collagecanto_yodchatbupasiri_yodchattinyline_anna_leonowens4
เมื่อลองทำม็อคอัพฉบับภาษาอังกฤษ วางคู่กับภาษาไทย ในที่สุดตัดสินใจใช้สันปกสีดำ

.

collagecanto_yodchatbupasiri_yodchattinyline_anna_leonowens5
เล่มจริงของ The English & The Romance จะใกล้เคียงกันกับ “นิยายรักฯ” ต่างกันที่ “นิยายรักฯ” เป็นปกแข็ง

.

collagecanto_yodchatbupasiri_yodchattinyline_anna_leonowens7
เมื่อลองวางรวมกันกับหนังสือเล่มอื่นๆ

.

69564226_940564659629646_7140289954579480576_o
พวกเราพากันไปถ่ายภาพที่สตูดิโอ AI MAN

.
ต่อไปนี้เป็นบันทึกที่โคว้ตมาจากพี่บัว จะมีความเป็นภาษาพูดสักหน่อย แต่เก็บบรรยากาศได้ครบถ้วนดี

“ขั้นตอนการจัดวาง ถ่ายทำ และปรับแสงปกหนังสือ The English Governess at the Siamese Coust &
The Romance of the Harem ที่เรากับปลายปั้นกันมาตลอดปี 2019 ปลายรับหน้าที่ค้นคว้าและออกแบบ ส่วนเราตัด ถ่าย และปรับแต่งภาพ

งานนี้เป็นเล่มที่สองต่อจาก The Romance of The Harem ฉบับภาษาไทย
หลังจากอะไรๆ ลงตัวเราก็ได้ลงมือทำ
กว่าจะเสร็จก็ป่วยคั่นเวลาไปสองรอบ
ตอนเอาไปถ่ายก็ถือว่าเสร็จแล้วล่ะ แยกย้ายกันไปเตรียมงาน Unknown* กันต่อ 

วันที่ได้รับเล่มที่เสร็จสมบูรณ์แล้วก็เลยได้โอกาสเอาเซ็ทนี้มาลง
เป็นตอนที่ก้มๆ เงยๆ จัดๆ คอมโพสกันว่ายังไงดีวะ😆

//คุยกันหลายทีว่า WFH มันเวิร์กถ้าไม่ต้องส่งงานตัดที่โคตรจะบอบบางไปมา
แล้วบ้านก็อยู่กันคนละดาวเลย ส่งทีใจเต้นป้างๆ กลัวพังระหว่างทาง
แต่ก็ทำอย่างนี้มาสองเล่ม ไม่รู้จักเข็ด”

 

*งาน Unknown Asia คืองาน Art Fair ที่โอซาก้า จัดทุกช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี
.
PhotoBy_collagecanto_DesignedBy_YodchatBupasiri_YodchatTinyline7
.

PhotoBy_collagecanto_DesignedBy_YodchatBupasiri_YodchatTinyline1
ภาพนี้ถ่ายโดยพี่บัว


.

collagecanto_yodchatbupasiri_yodchattinyline_anna_leonowens2
ดัดให้กระดาษส่วนใบโอ๊คโค้งนูนขึ้นมาเพื่อสร้างมิติแก่ชิ้นงาน

.

collagecanto_yodchatbupasiri_yodchattinyline_anna_leonowens1
ใบโอ๊คจะเลื้อยไปบนลูกไม้ที่พัฒนามาจากลูกไม้ที่คั่นหนังสือบนงานปก “นิยายรักในราชสำนักฝ่ายใน”

.

collagecanto_yodchatbupasiri_yodchattinyline_anna_leonowens3
มีเลเยอร์ซ้อนกัน 2-3 ชั้นแล้วแต่พื้นที่

.

test_TheEng_TheRomance2_ draft the english_Collagecanto_YodchatBupasiri_YodchatTinyline_TheEnglish19
ภาพรวมของปกจะเป็นประมาณนี้ค่ะ

.

test_TheEng_TheRomance3_draft the english_Collagecanto_YodchatBupasiri_YodchatTinyline_TheEnglish20
เรามีการปรับตำแหน่งใบโอ๊คหลายๆ แบบ จนมาลงตัวที่แบบนี้

.
การปรับเปลี่ยนปกนั้นมีที่มาที่ไป
สำหรับภาพบนปก The English & The Romance เล่มนี้ แหล่งอ้างอิงสำหรับเรานั้นพิเศษยิ่งไปกว่าเล่ม “นิยายรักในราชสำนักฝ่ายใน” เสียอีก หากใครยังจำได้ ปกนิยายรักฯ มีตัวเอกเป็นงูฉลุลายซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากฉากที่งูขนดทองแดงเลื้อยผ่านโต๊ะนักเรียน ในขณะที่แหม่มแอนนากำลังถวายการสอนพระบรมวงศานุวงศ์ ในขณะที่ปก The English & The Romance นี้ จุดเด่นตกเป็นของลวดลายเถาใบและผลโอ๊คซึ่งเลื้อยคลุมหนังสือไปตลอดทั้งเล่ม

THE_ENG_THE_ROMANCE_YodchatTinyline_YodchatBupasiri3
.

THE_ENG_THE_ROMANCE_YodchatTinyline_YodchatBupasiri1.96
.

THE_ENG_THE_ROMANCE_YodchatTinyline_YodchatBupasiri1.93
.
ใบและผลโอ๊คมาจากไหน?
ด้วยความตั้งใจไปชมคอลเล็กชั่นข้าวของทรงคุณค่าต่างๆ ในอดีต ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร เพื่อเก็บข้อมูลมาทำปกหนังสือ และท่ามกลางผ้าสะพักปักไหม สไบกรองทอง และลูกไม้ฉลุลายต่างๆ เราพบว่าพิพิธภัณฑ์ฯ ได้จัดแสดงฉลองพระองค์ของคิงมงกุฎเอาไว้ด้วย
.

Somrot Krongthong copy
กรองทอง

.

Pha Sapak with Gold Thread Embroidery
ผ้าสะพัก

.

Pha Saphak with Silk Embroidery1
.

king 4_1
ฉลองพระองค์คิงมงกุฎ ด้านหลัง

.

king 4 copy
ฉลองพระองค์คิงมงกุฎ ด้านหน้า

.
บนฉลองพระองค์แบบตะวันตกนั้นเอง เราสังเกตเห็นการใช้ลวดลายใบและผลโอ๊ค คล้ายกับชุดเสื้อคลุมของชาวตะวันตกที่เคยผ่านตา ( ปักดิ้นทองลงบนผ้าขนสัตว์ มักใช้ในเครื่องแบบทหาร) จึงเกิดเป็นความคิดขึ้นมาว่าน่าจะนำลวดลายนี้มาใช้บนปกด้วย ลูกไม้ชั้นล่างเป็นลวดลายแทนฝั่งแอนนาจากเล่มนิยายรักฯ ในขณะที่ลวดลายชั้นบนเป็นใบและผลโอ๊คแทนบรรยากาศต่างๆ อันเกี่ยวเนื่องกับคิงมงกุฎซึ่งแผ่คลุมชีวิตของแอนนาเอาไว้
.

PhotoBy_collagecanto_DesignedBy_YodchatBupasiri_YodchatTinyline5
พี่บัวถ่ายภาพขณะที่เรากำลังจัดวางใบโอ๊ค

.

PhotoBy_collagecanto_DesignedBy_YodchatBupasiri_YodchatTinyline6
พี่บัวถ่ายภาพขณะที่เรากำลังจัดวางใบโอ๊ค

.

PhotoBy_collagecanto_DesignedBy_YodchatBupasiri_YodchatTinyline2
.

PhotoBy_collagecanto_DesignedBy_YodchatBupasiri_YodchatTinyline3
พี่บัวถ่ายภาพขณะที่เราจัดวางใบโอ๊ค

.
มีความแตกต่างอยู่บ้างระหว่าง“นิยายรักในราชสำนักฝ่ายใน” กับ The English & The Romance
เล่มแรกถูกวางเอาไว้ว่าเป็นเรื่องกึ่งจริงกึ่งแต่ง ในขณะที่เล่มหลังเป็นการรวมต้นฉบับทั้งสองเล่มของแหม่มแอนนา ทั้งบันทึกตอนที่มาใช้ชีวิตเป็นครูในสยาม (The English) และทั้งเรื่องกึ่งจริงกึ่งแต่ง (The Romance/นิยายรักฯ)

สำหรับเล่มนิยายรักฯ ฉบับภาษาไทย เราอาจโฟกัสไปที่ตัวเนื้อเรื่องได้เลย แต่สำหรับเล่ม “The English Governess at the Siamese Court & The Romance of the Harem” นั้นกลายเป็นหนังสือที่รวมชีวิตของแหม่มแอนนา เป็นหนังสือซึ่งเป็นตัวแทนช่วงระยะเวลาที่สำคัญในชีวิตมนุษย์คนหนึ่ง ไม่ใช่แค่เรื่องกึ่งจริงกึ่งแต่งอีกต่อไป
.

Ply-Outtakes-11
ภาพนี้ถ่ายด้วยกล้องฟิล์ม โดย Joel Chau ช่างภาพชาวสิงคโปร์

.
THE_ENG_THE_ROMANCE_YodchatTinyline_YodchatBupasiri1.95
.
สิ่งที่แตกต่างไปอีกอย่างในทางเทคนิคคือ ตัว text บนปกค่อนข้างยาว จะทำอย่างไรให้ทั้งหมดอยู่กับลวดลายฉลุได้ไม่รกตา คำตอบมาลงตัวที่วิธีการจัดวางแบบสมมาตร ปกหน้ายก text ไว้ตรงกลาง ปกหลังวาง text ไว้ชิดด้านใดด้านหนึ่ง ลวดลายซ้ายขวาที่ใช้อาจจะไม่ได้สมมาตรแบบเป๊ะมาก ซึ่งเป็นข้อดี เพราะอยากให้มีกลิ่นอายของการทำมืออยู่บนปกให้มากๆ มีองศาและขนาดที่ไม่เท่ากันเล็กน้อย สามารถสร้างความรู้สึกว่านี่คืออะไรที่เป็น organic form ดูมีชีวิตและไม่มีชีวิตไปพร้อมๆ กัน (นึกถึงป้ายหลุมศพภาพนูนต่ำที่มีเถาไม้ปกคลุมอะไรแบบทำนองนั้นด้วย)
.
THE_ENG_THE_ROMANCE_YodchatTinyline_YodchatBupasiri23
.
.
มีวรรณกรรมไทยเล่มหนึ่งที่เราอยากกล่าวถึง นั่นคือเรื่อง “จุติ” ของพี่อุทิศ เหมะมูล ปกหลังของ The English และ The Romance ในส่วนที่เป็นตัวอักษรสีแดง อ่านได้ความว่า  “Siam had just opened his eyes to a world.” สำหรับเราแล้วคือ ดร.สยาม ในนวนิยายเรื่องนี้ของพี่อุทิศนั่นเอง :

“ลึกเหลือเกิน เหมือนนับเวลาไม่ได้ เราตกลงไปอย่างเชื่องช้า ฟามเร็วที่เรารู้สึกนั้นเท่าเดิม แต่สภาวะที่ตกลงนั้นเหมือนผ่านชั้นหนืดเหนียวของน้ำตาลกวน อากาศนั้นหยุ่นแน่น โอบรัดบีบอัดเคลือบคลุมตัวเราคล้ายถูกห่อด้วยถุงสุญญากาศจนหายใจไม่ออก เราค้างอยู่นานอย่างนั้น ดื้นรนอย่างทุรนทุราย เพื่อให้ตกถึงผืนน้ำเสียที เรายอมเจ็บ เพราะเราเตรียมตัวรู้สึกเจ็บไปแล้วก่อนหน้าเสียด้วยซ้ำ เราดิ้นหนักขึ้นอีกในอากาศที่หนืดข้นเหมือนตังเม เรากรีดร้องเพื่อรวบรวมพละกำลังเฮือกสุดท้าย สะบัดเหวี่ยงอีกครั้ง ในที่สุดเราจึงตื่นจากการตกจากที่สูง…”

ภาค 2 การผจญภัยในโลกสมคบคิดของ ดร.สยาม
“จุติ” หน้า 126-127 , สำนักพิมพ์จุติ พิมพ์รวมเล่มครั้งแรก มีนาคม 2558

เป็นนวนิยายที่ถูกเขียนขึ้นมาอย่างประณีต ผ่านการค้นคว้าข้อมูลอ้างอิงมาอย่างเข้มข้น ทั้งพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี, พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา, ประชุมพงศาวดารภาคที่ 7 ฯลฯ อยากให้ทุกคนลองไปหาอ่านดู แล้วอาจจะเห็นภาพในมุมกว้างมากขึ้นว่าทำไมเราจึงนำหนังสือสองเล่มนี้มาเชื่อมโยงกัน
.
THE_ENG_THE_ROMANCE_YodchatTinyline_YodchatBupasiri1.97
.
THE_ENG_THE_ROMANCE_YodchatTinyline_YodchatBupasiri1.98
.
ข้อดีของปก The English Governess at the Siamese Court & The Romance of the Harem คือเนื่องจากเป็นฉบับภาษาอังกฤษ การจัดการกับตัวอักษรภาษาอังกฤษจึงดูง่ายกว่าเมื่อเทียบกับปก “นิยายรักในราชสำนักฝ่ายใน”  ทางสำนักพิมพ์ตัดสินใจว่าจะใช้แบบตัวอักษรที่
ก)ให้กลิ่นอายของความเป็นอังกฤษ (เพราะแหม่มเป็นชาวอังกฤษ แม้จะเกิดและโตที่อินเดียก็ตาม)
และ ข) คือมีบางสิ่งบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับอเมริกา (เพราะหนังสือสำคัญทั้ง 2 เล่มนี้ถูกเขียนขึ้นที่นั่น)

นี่ทำให้ชวนคิดถึงตัวพิมพ์ที่ชื่อ Caslon ซึ่งเป็นตัวพิมพ์ยอดนิยมในอังกฤษช่วงศตวรรษที่ 18 ตัวพิมพ์นี้ได้เดินทางไปสู่อเมริกาในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ซึ่งมันเริ่มเสื่อมความนิยมลง และกลายเป็นว่ามันถูกปรับปรุงและขัดเกลาแบบใหม่โดย type foundry ในอเมริกาจนถูกใช้อย่างแพร่หลายที่นั่น เรื่องราวของฟอนต์ Caslon มีบางอย่างคล้ายกับการเดินทางและชีวิตของแหม่มแอนนา ในแง่ดีไซน์มันเป็นตัวที่มีความสวยงามในการเดินเส้น มี contrast ในตัวเอง และแม้จะเป็นตัวพิมพ์เก่า แต่ยังคงร่วมสมัย

นอกจากนี้ ตัว Caslon ยังถูกนำมาปรับเป็นตราโมโนแกรม AHL บนหัวหนังสือ ซึ่งย่อมาจาก Anna Harriette Leonowens ด้วย
.
THE_ENG_THE_ROMANCE_YodchatTinyline_YodchatBupasiri1.6
.
THE_ENG_THE_ROMANCE_YodchatTinyline_YodchatBupasiri1.91
.
THE_ENG_THE_ROMANCE_YodchatTinyline_YodchatBupasiri1.9
.
THE_ENG_THE_ROMANCE_YodchatTinyline_YodchatBupasiri1.8
.
สำหรับผู้อ่านที่สนใจ The English Governess at the Siamese Court & The Romance of the Harem  เล่มนี้ ยังมีหนังสือภาษาไทยอีกจำนวนหนึ่งที่เราอยากจะแนะนำให้อ่านควบคู่กันไป ได้แก่

1. พระจอมเกล้าพยากรณ์
ความย้อนแย้งของ “ดาราศาตร์” กับ “โหราศาสตร์” ในสังคมไทยสมัยใหม่
สิกขา สองคำชุม บรรณาธิการ สำนักพิมพ์  Illuminations Editions  ราคาหน้าปก 450 บาท

2. ประวัติศาสตร์ของประวัติศาสตร์
เขียนโดย จอห์น เอช. อาร์โนลด์ แปลโดย ไชยันต์ รัชชกูล
สำนักพิมพ์อ่าน ราคาปก 200 บาท

3. กองเรือหาคู่: จากเมืองฝรั่งขึ้นฝั่งที่อินเดีย
Anne de Courcy เขียน สุภัตรา ภูมิประภาส แปล
สำนักพิมพ์มติชน ราคาปก 390 บาท

4. อ่านสยามตามแอนนา การบ้านและการเมืองในราชสำนักคิงมงกุฎ
แปลจาก The English Governess at the Siamese Court
เขียนโดย Anna Leonowens แปลโดย สุภัตรา ภูมิประภาส และ สุภิดา แก้วสุขสมบัติ
สำนักพิมพ์ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ ราคาปก 360 บาท
.
THE_ENG_THE_ROMANCE_YodchatTinyline_YodchatBupasiri25
.
.
สุดท้ายนี้ขอขอบคุณสำนักพิมพ์ Shine Publishing เพื่อนๆ พี่ๆ ที่น่ารักหลายท่านซึ่งมีส่วนร่วมช่วยคอมเมนต์ปรับเปลี่ยนปก (และปรับงานชุด #TAAIAT ด้วย) และที่สำคัญที่สุด ขอขอบคุณพี่บัวที่มีส่วนร่วมในการเดินทางอันสำคัญยิ่งครั้งนี้ ระยะเวลาสามปีกว่านี้มีความหมายเหลือเกิน ไม่ใช่เพียงแค่ปก แต่เราคิดอยู่ตลอดว่ากำลังทำซีรีย์งานศิลปะชุดหนึ่งซึ่งเกี่ยวโยงกับประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่งของประเทศไทย และหากใครอ่านมาจนถึงบรรทัดนี้เราลุ้นสุดใจให้คุณลิสต์ The English Governess at the Siamese Court & The Romance of the Harem (รวมไปถึง “นิยายรักในราชสำนักฝ่ายใน” ฉบับครูอบ ไชยวสุ) เข้าไว้ในรายการหนังสือชวนอ่าน :))
.

COLLAGECANTO_YodchatBupasiri_YodchatTinyline_2019_UnknownAsia_Osaka
COLLAGECANTO & Yodchat Bupasiri

.
ขอจบด้วยภาพเราและพี่บัวที่งาน Unknown Asia, Osaka 2019 หลังจากส่งงานปกเสร็จ : )
ปล. ส่วนงานชุด #TAAIAT นั้น หากมีความคืบหน้าใดๆ จะมาอัพเดตให้ฟังนะคะ
.
.
ข้อมูลและช่องทางการสั่งซื้อหนังสือ
The English Governess At The Siamese Court & The Romance Of The Harem

ผู้เขียน:  Anna Harriette Leonowens
สำนักพิมพ์: ไชน์ (Shine Publishing House)
จำนวนหน้า: 672 หน้า ปกอ่อน
พิมพ์ครั้งที่ 1 — มกราคม 2563
ISBN: 9786167939148
ราคา 969 บาท (มีส่วนลดในบางเวปไซต์)
.

THE_ENG_THE_ROMANCE_YodchatTinyline_YodchatBupasiri1.5
.
Fathom Bookspace : 

https://shopee.co.th/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%A9-The-English-Governess-At-The-Siamese-Court-The-Romance-Of-The-Harem-By-Anna-Harriette-Leonowens-i.92929492.6017571704

ChulaBook : http://www.chulabook.com/description.asp?barcode=9786167939148&fbclid=IwAR1zMvDWn82UERycse07g388wHIuJD5rETF3BkFmnMjnA6knI48YQa5QzU0

Readery :  https://readery.co/9786167939148

เคล็ดไทย :  คลิกเพื่อไปยังเวปไซต์เคล็ดไทย

***; ) ***