[Eng/ไทย] พวกเธอคือใคร ใน “ทำลาย, เธอกล่าว รวมเรื่องสั้นเธอเล่า”
*
“…โดยวิธีของคนทำงานศิลปะคนหนึ่ง เราอาจคัดกลั่นผลึก ตะกอนหมอกในน้ำ แล้วจับความหมาย
เราอาจตกแต่งทะเสสาบของเราได้โดยลำพังตน อย่างที่ให้ปราศจากอิทธิพลของทะเลได้(อาจจะ)มากกว่าคนอื่น แต่หลายครั้งเปล่า ส่วนใหญ่เราแพ้คลื่นทะเล ที่จริงแพ้แก่ปรารถนาพื้นๆ ไหลลงร่องรอยเดิมซ้ำๆ…
*

*
…หลายๆ ครั้งเราปลอบประโลมตนเองด้วยเรื่องตื่นเต้นชั่วครู่คราว (อ่านกวีให้ศพ, ฟังเรื่องเล่าของหญิงวิกลจริต) เรายึดเหนี่ยวตนเองไว้กับภาระที่เราสร้างขึ้นและผูกพันอย่างสัตย์ซื่อ (หมาพิการฯ) เราพึ่งอิงการใฝ่รู้ที่มากขึ้น ตรวจสอบลับคมทัศนะให้เฉียบแหลมกว่าเดิม แต่คลื่นของความสะเทือนใจยังคงซัดสาดเข้าหาเรา
*

*
อาจเพราะด้านหนึ่งเราแยกตัวตนของเราออกมา มองดูตัวเรา รู้ทันตัวเราเอง ไม่ใช่บทบาทของนักเขียน ศิลปิน หรือนักวิชาการ เพราะบทเหล่านั้นมีข้อแก้ตัวให้กับบทบาทของมันเสมอ ความสะเทือนใจมาจากเรารู้ทันตัวเราเองในฐานะมนุษย์
ดังนั้น
“ในสถานการณ์เช่นนี้ สิ่งพึงควรใส่ใจก็คือการทรยศของดวงจันทร์”
อารยา ราษฎร์จำเริญสุข
สูจิบัตรนิทรรศการ “ในสถานการณ์เช่นนี้ สิ่งพึงควรใส่ใจคือการทรยศของดวงจันทร์”
จัดแสดงที่ Ardel Gallery พ.ศ. 2552
*

*
“In such a moment the differences start to disappear and I start to become nothing, to become everything. Myself is the creator and at the same time the created. But whom the goddess of the moon loves with a deep love? The one that unites or the one that divides? As I came riding through the world of my dreams I realized that I lived my life as it is real. While I wept I said; I have no name I am just a moment old. Timeless and unique. Don’t matter if the season gone, or the darkness is complete.”
Araya Rasdjarmrearnsook
In this circumstance, the sole object of attention should be the treachery of the moon.
Solo exhibition at Ardel Gallery, 2009
*

*
ยกทะเลออก ทำผืนดินให้แห้ง แล้ววางทุ่งหญ้าลงไป
กวาดมันให้ลู่เอนไปด้วยลมที่มองไม่เห็น
ดูไม่สมจริง ทว่าเป็นจริง
สถานที่แห่งทุ่งหญ้าหาใช่เพียงมีพื้นที่ว่างโล่ง
หากเวลาได้ถูกรั้ง
รั้งไว้แล้วยืดขยายออก
ผู้คนอาจหลับใหล ขณะเหล่าพืชพรรณนั้นเติบโต
จากนั้นเฉือนเอาสถาปัตยกรรมบางส่วนออกจากบริบทของมัน
นำมาจัดวางในสถานที่ใหม่
ปรับแต่งองศาทิศทางให้เหมาะสม
ทำพื้นที่ภายในให้กลายเป็นพื้นที่ภายนอก
ทำให้กลายเป็นบ้าน
ทำให้กลายเป็นการหวนคืน
ยอดฉัตร บุพศิริ
ปรับแก้จาก “ทุกทิศทางรั้งรอต่อทุ่งหญ้า” ฉบับตีพิมพ์วันที่ 29 ก.ค. – 4 ส.ค. 2554 นิตยสารมติชนสุดสัปดาห์
*

*

*

*
*
*
*
สิ่งที่เขาเล่า และสิ่งที่เธอกล่าว
สิ่งที่เขาเล่า: สิ่งนั้นส่งผลต่อความรู้สึกภายใน ความหวามไหวที่เป็นความกลัว(นึกถึงเวลาเรายืนอยู่แล้วมองภูเขาสูงตระหง่านน่าสะพรึง) ก็คงจะคล้ายๆ กับความรู้สึกอะไรแบบนี้ละมั้ง ความหมายที่ถูกทำให้รุ่มรวย ยอกย้อน กลายเป็นความไม่รู้จัก ฉงนสนเท่ห์
ฉับพลันสัญชาตญาณ – gesture บางอย่างที่มันวิเศษ – เหมือนลมพัดมาวูบหนึ่ง วูบเดียว – อะไรบางอย่างที่เกาะ ยึดโยงอยู่เบาๆ แต่ก็พร้อมจะปลิดปลิว
(บันทึกการสนทนา 2553 – 2554)
สิ่งที่เธอกล่าว: มีความรู้สึกท่วมท้นอยู่ในนั้น เป็นการระเบิดของสิ่งที่ไหลออกมา หรือสิ่งที่ไหลย้อนกลับเข้าไป ภาพค่อยๆ เปลี่ยนจากการลอกเลียนมาเป็นการโต้ตอบสนทนากับความไม่รู้และความกังขาที่ผุดขึ้นในใจ ตอนนี้สิ่งที่ฉันกังวลมีเพียงว่า ‘คำ’ อาจไม่สามารถไล่ตาม ‘ภาพ’ ได้ทัน หรือในทางกลับกัน ‘ภาพ’ ไม่อาจไล่ตาม ‘คำ’ ได้ทัน มันมีความทัดเทียม แต่ในบทบาทที่แตกต่างกันออกไป
(ปรับแก้จากบันทึกการทำงาน 2554 )
*
*
สิ่งที่ฉันเล่า: บันทึกนั้นกล่าวถึงชั่วขณะของการอ่าน การเขียน และการวาด
เมื่อถักทอทั้งสามสิ่งนี้ผ่านประสบการณ์ชีวิตเข้าด้วยกัน คำต่อคำ เล่มต่อเล่ม ภาพต่อภาพ ทุกอย่างล้วนสอดประสาน จนถึงจุดหนึ่งเราอาจพบว่านี่คือกระแสธารผืนใหญ่ที่ไม่อาจตัดขาดหรือฉีกแยกออกจากกันได้ หากเราอวลด้วยปีติเรายับยั้ง แม้กระทั่งการต่อต้านเหยียดชังเราก็จะไม่แสดงมันออกมา บทเรียนของเราได้สร้างเจตนาเช่นนั้น กระบวนการทั้งหมดนี้ได้จับจูงเราไปยังทัศนียภาพที่เราไม่รู้จัก ขณะเดียวกันมันก็ได้พาเราย้อนกลับไปยังประสบการณ์ที่เราหวาดกลัวทว่าคุ้นเคยที่สุด หากหลายครั้งเรากลับขัดขืนตนเอง ยินยอมพลัดหลงไปในความทรงจำแห่งวันคืนเก่าๆ ใช้จ่ายโมงยามที่หากได้รับ เราย่อมเต็มใจที่จะมอบคืนยิ่งๆ ขึ้นไป หวนคะนึงแล้วพบว่าช่างไร้เดียงสาน่าขบขัน ที่ยังเฉไฉไปว่า รูปเงาไหวๆ เหล่านั้นคือรูปรอยของดวงตะวันที่เคยส่องฉายมาแต่หนหลัง ความปรารถนาที่จะทำลาย
*
ทำลาย, เธอกล่าว: เธอทุบทีวี วี้ด ครึ่ก ซ่า..ใบปลิวลอยว่อน มันลอยสูงเท่ากองไฟก่อนสลายเป็นเถ้า วี้ด ครึ่ก ซ่า…ภาพหลายภาพซ้อนทับกัน วี้ด…เพลิง ครึ่ก…ท่วมทับฝูงชน ซ่า…ซ่า ยางรถยนต์ถูกเผา / ขออย่าได้มีใครพรากเธอจากเงื้อมมือยมทูต ผืนน้ำเบื้องล่างไหวกระเพื่อมขุ่นมัว มองไม่เห็นสิ่งใดข้างใต้นั้น / ร่างเปลือยเปล่าของเธอที่ร้อนเหมือนไฟเผาละลายฝ้าไอน้ำบนกระจก มือของเธอตะเกียกตะกายหาที่ฉุดยึดอารมณ์ที่โลดกระเจิง ทั้งดิ้นรนหลีกหนี ท้าทายและยอมจำนน / พวกกร้านโลก เขาเคยเรียกอย่างนั้น / ลุงเขาเลยสัญญากับพ่อแม่ว่าจะรักป้าจนตาย ที่จริงเขาก็รักษาสัญญานะ เสียแต่ว่ามันสั้นไปหน่อย
พวกเธอกว่าครึ่งสำรวจตรวจตราความปรารถนาและความคับข้องใจผ่านร่างกายของตนเองและผู้อื่น เธอบางคนเป็นผู้สังเกตการณ์ คนหนึ่งเฝ้ามองความเป็นไปของช่วงวัยอย่างฉงนใจ อีกคนเป็นประจักษ์พยานของอดีตที่ถูกปลุกขึ้นมาให้มีชีวิตชีวา พวกเธอล้วนสูญเสียและได้รับ
*

*
พวกเธอเท่าทันความเป็นไป แต่หลายครั้งก็ไม่ พวกเธอไม่ได้ทำลายใคร แต่ราวกับว่ามีความปรารถนาอันลึกลับในใจที่จะทำลายตนเอง
[อ่านต่อในตอนหน้า บันทึกการทำงาน Destroy, She Said (2) : “เคราน้ำเงิน, ทอสก้า และ sea of Vigo song cycle” ระลึกถึงความทรงจำและแรงบันดาลใจจากการออกแบบท่าเต้นของ Pina Bausch, Monica Casadei และ Rodrigo Pederneiras
สำหรับบันทึกในภาษาอังกฤษข้างล่างนี้(และในบันทึกอีกสองตอนข้างหน้า) ไม่ได้แปลจากภาษาไทย หากแต่เป็นการเล่าใหม่ของผู้เขียน(ด้วยความตั้งใจที่เขียนเป็นพอร์ตโฟลิโอไว้ด้วยเหตุผลหนึ่ง) ซึ่งพบว่าเมื่อลองเล่าในภาษาที่ไม่ถนัด ก็ให้ประหลาดใจว่าได้พบวิธีเล่าที่ตรงความต้องการ ในขณะที่การใช้ภาษาแม่ซึ่งถนัดคุ้นเคย-อาจะเป็นเพราะคุ้นเคยจนเกินไปทำให้บางจุดที่ต้องการเล่ากลับนึกอะไรไม่ออก หรือนึกออกแต่เมื่อเล่าแล้วจะดูตลก(โดยเฉพาะการสเก็ตซ์งานก่อนจะทำ oil transfer ในตอนท้ายบันทึก) ทั้งนี้ด้วยคลังคำที่จำกัด อ่านแล้วอาจพบว่าเป็นภาษาที่สองที่ตะกุกตะกักไปบ้างนะคะ : ) ]
*
Porcupine Book and ten writers
On April 26th, Niwat Puttaprasart, founder of Porcupine Book, kindly emailed me about a very interesting project. He asked me to do one book cover and eleven illustrations for Thai short stories collection named “Destroy, She Said” / “ทำลาย, เธอกล่าว รวมเรื่องสั้นเธอเล่า” It was written by:
Sirinart Intapan (สิรินารถ อินทะพันธ์) , Wassachol Sirichanthanun (วรรษชล ศิริจันทนันท์) , Penin (เพณิญ) 2016 , Srinit Suwannasak (ศรีนิติ สุวรรณศักดิ์) , Chatrawee Sentanissak (ฉัตรรวี เสนธนิสศักดิ์) 2016 , Por Pramsumran (ปอ เปรมสำราญ) 2017 , Jiraporn Wiwa (จิราภรณ์ วิหวา) 2016 , Pawin Fey (ภวิล เฟย์) 2016 , Tuangporn Patipatapanich (ตวงพร ปฏิปทาพานิชย์) , Pimsiri Petchnamrob (พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ) 2014
*

*
The editor
The editor of this project is Wiwat Lertwiwatwongsa aka FILMSICK, one of Thailand’s most renowned cinephile, filmcritic, curator for the independent film screening programs, writer [ book list ::: short stories (translated in English by Marcel Barang)], and translator.
Wiwat got this book title from Marguerite Duras’s classic novel “Destroy, She Said”, but, as he wrote in his preface, nothing in Duras’s work related to these Thai short stories, except one thing: the potential for exploring the interior landscape of mind in terms of interestingness.
Reading these writings can provoke readers into tracing their feelings and perceptions about being woman (regarding the context of post-coup Thai sphere.) As Wiwat explained: the writers wrote as if they could destroy themselves and others. Each character’s story was revealed as much as kept away from us, the outsider.
*

*

*
Characters
Characters in this book had to deal with
1. Political issue: Thai social norms (being in monogamous or polygamous relationships, taking possession of female bodies, etc.)
2. Memories: childhood trauma, family issues, aging, etc.
*

*

*

*
There were an old lady who had an affair, an honest and dedicated wife who killed her husband, a woman who frustrated with both casual sex and a committed relationship,
*

*

*
a woman who had a television addiction (relating to parental relationship problem in her fragile family) when she was young, and a woman who could not decide whether or not to do a tattoo on her body because she has been controlled by Thai social norms.
There were a love-hate relationship of a daughter and her disable father, an awkward moment when people witnessed a suicide by bridge, and a song named Si el vino me hace llorar in the twilight zone of a strange town.
*

*

*
Finding the right technique: oil transfer
After I finished my first reading, I did not do my sketch immediately. I tried to figure out what kind of “illustration language” will suit this book, and it did not take me a long time to find the answer, I knew exactly it must be an oil transfer technique.
*

*

*

*

…the moment you transfered your drawings you thought twice, first was ‘what am I going to draw?’ and then ‘How could my drawing looks like after I press this trasfer paper?’…
*
The process of oil transfer technique is almost like doing etching print, but it does not require any copper plate for printing. It can gives many kind of textures and chiaroscuro to the final work. It is very suitable for expressing the complex feelings from characters in “Destroy, She Said.” It was my kind teacher, Jesús Cisneros, who taught me this technique.
*


*
*
*
*
My creative process (1)
After several of my rereadings, I drew my own map:

*
From my messy map above, I re-created my own version of ‘Destroy, She Said’ by collaging all of significant characters and scenes from the original text and filming it in my head. In my rough sketch; I put every characters on the same page, all scenes were simultaneously happened in the same town.
I was a film director not illustrator. All actresses were told to perform their own scenes over and over. I watched quietly and carefully, but something was wrong. I told myself: alter it to a play on the theater.
The spotlight was turned on. A nude woman sat on the stage. She was calm for a while before she told me she forgot her script. She said it was too much for her.
“But I can dance” She said. “I can express my feelings through my body.”
“Hmm.. that’s interesting, have you ever seen Blaubart?” I asked.
“That is my favourite one.” She answered.
(to be continued “Destroy, She Said (2)” : My inspiration from “Bluebeard, Tosca, and Sea of Vigo Song Cycle”)