Visual Narrative elective class: My Beloved Picture Books (2)

[Thai language]

จับภาพหน้าจอ 2559-07-03 เวลา 15.30.44
International Library of Children’s Literature
UENO PARK, TOKYO
จับภาพหน้าจอ 2559-07-03 เวลา 15.30.48
International Library of Children’s Literature
UENO PARK, TOKYO
จับภาพหน้าจอ 2559-07-03 เวลา 15.30.51
International Library of Children’s Literature
UENO PARK, TOKYO

(4)
ในโพสต์ที่แล้ว Sempe บอกเอาไว้ว่าผมเป็นนักฝันเสมอ “วันหนึ่ง ฉันจะมีโชค” เขาว่าอย่างนั้น
หลายปีก่อนที่สวนอุเอโนะ โตเกียว เราได้พบกับโชคของเราแล้ว นั่นคือการได้มีโอกาสไปเยี่ยม International Library of Children’s Literature คลังข้อมูลของหนังสือภาพสำหรับเด็กที่ใหญ่มากแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น แต่เสียดายที่เวลามีน้อย เลยเดินดูไม่ทั่วถึง แต่ถึงอย่างนั้นก็ได้สัมผัสแล้วว่ายังมีอีกหลายเรื่องเกี่ยวกับหนังสือภาพและหนังสือภาพสำหรับเด็กที่เรายังต้องเรียนรู้อีกมากจริงๆ (ส่วนรูปข้างล่างนี้เป็นรูปจากร้านหนังสือในเกียวโตค่ะ : ))

จับภาพหน้าจอ 2559-07-03 เวลา 15.31.09
art-bookshop, Kyoto
จับภาพหน้าจอ 2559-07-03 เวลา 15.31.11
Keibunsha , Kyoto
จับภาพหน้าจอ 2559-07-03 เวลา 15.31.13
Keibunsha , Kyoto

====

74
Bologna Children’s Book Fair 2012

(เนื้อหาในเรื่องนี้ ในคลาสมีโอกาสได้เล่าเพียงเล็กน้อย ที่ไม่ได้กล่าวถึงมีอีกเยอะมาก เลยขอนำส่วนหนึ่งมาเรียบเรียงเอาไว้ตรงนี้ให้ได้อ่านกันนะคะ)

(5)
ถ้าจะเล่าถึงหนังสือที่รักโดยเลี่ยงไปไม่พูดถึงเทศกาลหนังสือเด็กโบโลญญาก็คงจะไม่ได้ เพราะนี่เป็นอีกเทศกาลหนึ่งที่เปลี่ยนโลกการอ่านหนังสือภาพของเราไปโดยสิ้นเชิง (รวมถึงมีผลให้กระเป๋าสตางค์ฉีกเพราะค่าหนังสืออยู่เรื่อยๆ อีกด้วย) คงเหมือนกับความรู้สึกที่เซมเป้มีต่อนิวยอร์กเกอร์ในครั้งแรก “ใช่แล้ว พวกรูปวาดที่ผมเห็นเป็นเหมือนโลกอีกใบ โลกที่ซับซ้อนมาก”

“Displaying their wares in the booths are publishers large and small from the four corners of the world. Colossal publishing concerns sit side-by-side with small courageous niche-market firms. Nowhere else but Bologna does such a vast range of publishing talent gather every year.” – Bologna Children’s Book Fair

จำได้ว่าบูธสำนักพิมพ์ที่ทำให้ตื่นตะลึงที่สุดคือ บูธใหญ่ยักษ์ของ Edelvives ที่ชั้นวางหนังสือดูจะอลังการกว่าสำนักพิมพ์อื่นๆ หนังสือของ Edelvives ประณีตสวยงามมาก โดยเฉพาะหนังสือเซ็ตบทกวีปกแข็งสีแดงที่นำงานของกวีสเปนยุคเก่ามาตีพิมพ์ ( ดูลิสต์หนังสือได้ที่นี่ค่ะ ) แต่เป็นที่รู้กันว่า Edelvives และบูธสำนักพิมพ์ยักษ์ใหญ่(และเล็ก)หลายเจ้าไม่ขายหนังสือในงาน เพราะเน้นไปที่การเจรจาซื้อขายลิขสิทธิ์กันมากกว่า ตอนนั้นเลยได้แต่เก็บภาพไว้เป็นที่ระลึก : )

ถ้าคุณไม่ใช่นักวาดภาพประกอบที่จะต้องนำเสนอพอร์ตโฟลิโอ บรรณาธิการหรือเอเจนซี่ที่ต้องเจรจาซื้อขายลิขสิทธิ์หนังสือ พิธีกรหรือแขกรับเชิญในงานเสวนาที่มีคิวพูดแน่นเอี้ยด การค่อยๆ เดินละเลียดสำรวจหนังสือภาพจำนวนมหาศาลจากทั่วทุกมุมโลกในงานเทศกาลหนังสือเด็กโบโลญญาก็นับว่าเป็นเรื่องรื่นรมย์ไม่น้อย

30
Bologna Ragazzi Award 2012
463380_303315939737806_887144529_o (1)
my selected illustrations – Bologna Children’s Book Fair 2012

 

P1040248
It’s me! : )
P1040244
Thank you!
P1040239
Illustration Exhibition at Bologna Children’s Book Fair 2012
70
The Committee

 

P1040381
with Ryoji Arai, one of the committe

(6)

“เขาไม่เคยติดต่อผมกลับมาอีกเลย” หนุ่มอิตาเลียนคนหนึ่งบุ้ยใบ้ไปทางบูธสำนักพิมพ์เล็กๆ (แต่มีชื่อพอสมควร) ขณะกวาดตามองไปยังนักวาดภาพประกอบหลายคนที่รอคิวเสนอผลงาน นักวาดคนหนึ่งกำลังคุยอยู่ในบูธยกภาพประกอบต้นฉบับขนาดเอสามให้บรรณาธิการดู เราแอบชะเง้อดูว่าจะเป็นภาพแบบไหนกันนะที่บรรณาธิการสนใจ เห็นไกลๆ ว่าเป็นภาพสีน้ำ พ่อหนุ่มมองแล้วยักไหล่ ก่อนเดินจากไปก็หันมากระซิบบอกเศร้าๆ ว่า “โชคดีนะ” นั่นคือเหตุการณ์ในปี 2012

“การได้แสดงงานไม่ได้การันตีว่าคุณจะได้งาน” หนุ่มเอเชียที่ไปเติบโตอยู่ที่บาร์เซโลน่าให้ความเห็น หลังจากสนทนากันยืดยาว เขาสรุปตบท้ายว่า “คุณต้องดิ้นรนหนักมากๆ”

“We are a little bit stress over here.” เป็นคำตอบข้ามซีกโลกมาจากนักวาดอีกคนหนึ่งที่ได้รับเลือกให้แสดงงานในปี 2014

9

(7)
แต่แน่นอนว่าถ้าคุณอดทนรอและมุ่งมั่นมากพอ บวกกับจังหวะเวลาที่เหมาะสม
 การได้ตีพิมพ์ผลงานก็ไม่ใช่เรื่องไกลเกินเอื้อม

ในปีที่เราไปนั้น ได้มีโอกาสได้เจอกับ อัลบา มาริน่า ริเวร่า เจ้าของผลงานหนังสือภาพที่นำผลงานของซากีชื่อ “นักเล่าเรื่อง” (ซึ่งเป็นหนึ่งในหนังสือภาพเล่มแรกๆ ที่เราเริ่มสะสม) เธอบอกว่าหอบเอาต้นฉบับภาพประกอบมาจากสเปน เพื่อมาเสนอกับสำนักพิมพ์ต่างๆ ในงานเทศกาลนี้ สุดท้ายก็ได้ตีพิมพ์กับสำนักพิมพ์คุณภาพเยี่ยมที่ชื่ออิคาเร่ แถมหลังจากนั้นหนังสือของเธอยังได้รับรางวัล New Horizon จากเทศกาลหนังสือเด็กโบโลญญาอีกด้วย

การได้รับคัดเลือกให้แสดงงานภาพประกอบที่เทศกาลนี้ไม่ได้การันตีว่าคุณจะได้งานก็จริง แต่มันเป็นจุดเริ่มต้นของโอกาสอีกนับไม่ถ้วน ที่แน่ๆ ก็คือ ชื่อของนักวาดทุกคนที่ได้รับคัดเลือกจะเข้าไปอยู่ในลิสต์ของจดหมายเชิญจากเทศกาลอะไรบางอย่างอยู่เสมอ และที่เทศกาลอะไรบางอย่างนั้นก็มักจะมีจุดที่เชื่อมโยงกลับมายังเทศกาลหนังสือเด็กโบโลญญาอยู่เสมอ ใครจะไปรู้ว่าหลังจากนั้นเส้นทางของคุณจะแตกแขนงไปได้อีกมากเท่าไหร่ – แน่ล่ะ ถ้าคุณมั่นคงและมองออกไปให้กว้างพอ

อะไรก็เกิดขึ้นได้ในงานเทศกาลหนังสือเด็กโบโลญญา(และแน่นอนว่าหลังจากนั้นด้วย) ; ))

====

8

**คำแนะนำเล็กๆ น้อยๆ สำหรับคนที่จะไป Bologna Children’s Book Fair**

+ ในหนึ่งวัน จะใช้บัตรเข้าออกงานได้แค่ครั้งเดียว (ถ้าออกจากงานไปแล้วจะกลับมาอีกไม่ได้)

+ อย่าลืมพกอาหารไปกินด้วย! อาหารในงานแฟร์ไม่ใช่ถูกๆ เลย

+ สำหรับนักวาดภาพประกอบ ถ้าเป็นไปได้ให้นัดเวลาเสนองานกับสำนักพิมพ์ทางอีเมลเอาไว้ล่วงหน้า 1-2 เดือน แต่ถ้านัดเวลาไม่ได้เลยก็ลองไปต่อคิวเสนองานที่หน้าบูธสำนักพิมพ์(อื่น)แทน (อันนี้ก็ต้องทำใจหน่อยเพราะคิวยาวมาก แต่ก็อาจจะได้เพื่อนใหม่ตอนต่อคิวเสนองานนี่แหละ) อย่างไรก็ตาม หลังจากหมดเทศกาลไปแล้วก็ยังสามารถเสนองานกับสำนักพิมพ์ทางอีเมลได้อยู่ดีนะคะ

+ Portfolio และสัมภาระต่างๆ ก็ขอให้คล่องตัวเข้าไว้ (A3 กำลังดี และงานไม่ควรเกิน 10 ชิ้น) เพราะงานแฟร์ไม่ใช่เล็กๆ บางทีบูธสำนักพิมพ์ที่หมายตาไว้ก็ไม่ได้อยู่ใกล้ๆ กัน การแบกพอร์ตโฟลิโอไซส์ใหญ่เบิ้มไปมาไม่ใช่เรื่องสนุก

+ เดี๋ยวนี้มีเพจ The illustrated Bologna Children’s Book Fair survival Guide แล้วนะ บางทีก็จะมีข่าว Portfolio Review ด้วย ถ้าเราไม่แน่ใจว่าพอร์ตโฟลิโอเราดีหรือไม่ให้ลองเอางานไปให้นักวาดภาพประกอบมือโปรชี้แนะดูได้ที่บูธค่ะ

+ สำนักพิมพ์หลายบูธไม่ขายหนังสือ แต่ว่าจะโละแจกฟรีในวันสุดท้าย!

+ อย่าลืมเช็คตารางการแสดงนิทรรศการในตัวเมืองโบโลญญานะคะ นอกงานแฟร์ก็ยังมีงานอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกเพียบเลยนะ ; )

(ไว้มาเล่าเรื่อง My Beloved Picture Books ต่อนะคะ
ตอนก่อนหน้า ดูได้ที่นี่ค่ะ )