I was the guest speaker at Visual Narrative elective Class.
Topic: “My Beloved Picture Books”
[CommDe, Chulalongkorn University, Thailand 24/02/2016]
Thank you Oat Montien for the invitation!
Oat Montien:
“It’s my honour to have Yodchat Bupasiri coming to CommDe this Wednesday 24th Feb to talk about her beloved picture books.
Yodchat is one of Thailand’s best book illustrators.
She has worked for Namee Books, Matichon, BACC, Goethe-Institut, Big Bear Books, Sataporn Books, etc.
Since her 2011 residency in Kyoto, Japan, her work has won various awards and exhibited internationally: The Iosif Iser International Contemporary Engraving Biennial Exhibition (Romania), Sharjah exhibition for children book illustrations (United Arab Emirates), Il viaggio International Exhibition of Illustration at Museo Diocesano di Padova (Italy), and the most prestigious exhibition of all for children book illustrators, Bologna Children’s Book Fair (Italy)During the talk, she will share with us her collection of picture books from all over the world, her inspiration from the poetry between words and images, her creative process, and her latest project “When My Dreamboat comes home” which use illustration as investigation of her inner space, family and intimacy.
Wed 24th Feb, 9:00-12:00
Room 3501 (Visual Narrative elective class)
Talk is open for everyone in CommDe so please drop by!”
[Thai Language]
(1)
เมื่อหลายสัปดาห์ก่อน น้อง Oat Montien มาถึงที่บ้าน (ซึ่งก็ไม่ง่ายเลย เพราะต้องต่อทั้ง MRT และ นั่งเรือมาไกลพอสมควร – แต่โอ๊ตก็บอกว่าจะมา และมาทั้งๆ ที่ป่วยอีกด้วย – อันนี้ขอบคุณในความตั้งใจมากๆ : ) ) มาค้นคลังหนังสือภาพที่เราสะสมไว้ตั้งแต่เมื่อหลายปีก่อน พร้อมชวนให้ไปบรรยายเรื่องภาพประกอบให้น้องๆ ใน Visual Narrative elective class ที่ CommDe จุฬาฯ ฟัง
โอ๊ตเล่าว่าสอนอะไรน้องๆ นิสิตไปบ้าง เธอหอบเอากองโปสการ์ดเก่าที่เอาไว้ใช้เป็นสื่อการสอนมาด้วย เป็นโปสการ์ดแบบที่พอเราเห็น เราจะสามารถจินตนาการต่อได้ไม่ยากเลยว่ามีเรื่องราวอะไรอยู่เบื้องหลังโปสการ์ดเหล่านั้น โอ๊ตกระตุ้นให้ผู้ร่วมคลาสเล่าเรื่องจากโปสการ์ดเหล่านี้ ซึ่งบางคนก็เล่าเรื่องออกมาได้น่าประทับใจมากๆ
หนังสือภาพที่ถูกหยิบขึ้นมาดูในวันนั้นหลายเล่มทำเอาโอ๊ตตื่นเต้น เราชอบพลังงานแบบนี้ มันเป็นความร่าเริงยินดีแบบที่เวลาเราเห็นงานที่แตะหัวใจเราจริงๆ โอ๊ตชอบหนังสือภาพของ Joanna Concejo และ Pablo Auladell (ใครยังไม่เคยเห็น ลอง google ชื่อ + picturebookmakers ดูนะคะ) หนังสือภาพที่เป็นอักษรเบรลล์ของสำนักพิมพ์สเปน และ Graphic Novel เรื่อง Arrugas ซึ่งเล่าเรื่องความทรงจำของชายที่กำลังจะเป็นอัลไซเมอร์ได้อย่างงดงาม (ซึ่งมีจุดพีคคือผู้เขียนปล่อยหน้าหนังสือว่างไว้สองหน้าเต็มๆ เพราะว่าความทรงจำของตัวเอกถูกลบหายไปหมดแล้ว)
“การสะสม/อ่านหนังสือภาพจากหลากหลายประเทศให้อะไรกับเราบ้าง” จำได้ว่าคำถามนี้น้องฟาน หนึ่งในผู้ร่วม sit-in ถามในวันที่เราหอบหนังสือไปบรรยาย จำได้ว่าตอบไปสั้นๆ แค่ว่ามันทำให้เรารู้ถึงวิธีการเล่าเรื่องของคนอื่น(คืออ่านเพื่อศึกษา) แต่พอนึกย้อนกลับไป เราพบว่าถ้าขยายคำตอบออกไปอีก ก็คงไม่ต่างกับการตอบคำถามว่า เราอ่านวรรณกรรมไปทำไม เราดูหนังและฟังเพลงไปเพื่ออะไร? เราอ่านและสะสมเพื่อความชุ่มชื่นเบิกบาน หนังสือภาพบางเล่มสั่นสะเทือนและรบกวนจิตใจอย่างอธิบายไม่ถูก หนังสือภาพบางเล่มพลิกคว่ำพลิกหงายมุมมองของเราให้เตลิดไปไกล หนังสือภาพโดยนักวาดแต่ละชาติแต่ละภาษาก็มีวิธีในการจับจูงผู้อ่านเข้าไปสู่โลกของตัวเองไม่เหมือนกัน มันเป็นโลกที่ขยายขอบเขตการมองของคุณออกไปและทำให้คุณอิ่มใจ

(2)
อันที่จริงการไปเยี่ยมคลาสของโอ๊ตที่ CommDe จุฬาฯ ในครั้งนี้ แผนที่น้องวางไว้ตอนต้นคือเราจะไปพูดคู่กับคุณน้ำส้มแห่งเพจน้ำมันออร่า ( Nammun&Aura )ซึ่งเราได้ร่วมงานกันมาหลายครั้งแล้วในชื่อ TINY – SOM บอกตามตรงเลยว่าเวลาไปทำเวิร์กช็อปกับน้ำส้มทุกครั้งจะรู้สึกอุ่นใจมาก แต่ด้วยเหตุชุลมุนหลายอย่าง (วันที่โอ๊ตมาเยี่ยมและหอบหนังสือกลับไปหลายเล่ม ก็ยังไม่แน่ใจกันเลยว่าเราและน้ำส้มจะได้ไปเยี่ยมคลาสของเธอหรือไม่) สุดท้ายแล้วโอ๊ตแจ้งมาว่าให้เราหยิบเอาหนังสือภาพที่ชอบไปแชร์ให้น้องๆ ฟังกันก่อน
>> และ(ถ้าพี่ปลายได้ไปพูด ก็)อยากให้เอางาน Dream Boat ไปพูดด้วย<< เธอกล่าวปิดท้ายอย่างชวนสยอง ถ้าใครที่เคยตามเพจนี้มาบ้างก็จะรู้ว่านี่เป็นงานชุดที่เราทำไม่เสร็จสักที แต่กระนั้นโอ๊ตก็บอกว่าถึงจะยังทำไม่เสร็จแต่ก็น่าจะถึงเวลา “รวบปากถุงงานได้แล้ว” ซึ่งเรารู้สึกว่ามันช่างเป็นคำที่เหี้ยมโหด(แต่ก็แฝงไปด้วยน้ำเสียงให้กำลังใจ)เสียจริงๆ โอเค เรามาลองรวบปากถุงงานกัน…
(3)
ปรากฏว่า Visual Narrative elective class ของโอ๊ตในวันนั้นกะทัดรัดจริงๆ! วันนั้นน้องๆ หลายคนน่าจะชุลมุนกับเรื่องการเดินทางเพราะตรงกับวันที่ BTS เสียพอดี เราเริ่มคลาสกันได้ช้ากว่าที่วางแผนไว้ แต่ถึงอย่างนั้นโอ๊ตก็ทำหน้าที่ของ host ได้ดีมากๆ เราพบว่าเธอเหมาะเป็นคุณครูที่สุด เซนส์การสอนดีงาม โยนคำถามเก่งและให้คำอธิบายได้กระชับและกระจ่าง
เราเริ่มต้นกันที่หนังสือภาพที่มีนักวาดจากญี่ปุ่น (Anno) ฝรั่งเศส ( Sempe) อิตาลี (หลายเล่มของสำนักพิมพ์ Topipittori – เช่น Joanna Concejo / Illustration และสำนักพิมพ์ Orecchio Acerbo Editore – เช่น Simone Massi) สเปน (สำนักพิมพ์ Ediciones Ekaré – Alba Marina Rivera) และสวีเดน (Majken Pollack , Anna Hoglund) หนังสือเหล่านี้เป็นหนังสือที่เปิดโลกการอ่านและการวาดภาพของเราจริงๆ และอยากให้น้องๆ ได้รู้จักกัน
มีโควทหนึ่งจากบทสัมภาษณ์ของ Sempe ที่น้องฟ้าใส – ธารริน อดุลยานนท์ เคยแปลไว้ให้ และเรานำมาใช้ในสไลด์ด้วย เป็นคำถามของมาร์ก เลอกาปงติเย่ร์ และคำตอบของเซมเป้ที่เราอดยิ้มให้ไม่ได้
Marc Lecarpentier : แล้วที่ปารีสนี่ คุณได้อ่านนิวยอร์คเกอร์บ้างใช่ไหม?
Sempe : น้อยมาก! ผมไปซื้อนิวยอร์คเกอร์จากแผงลอยของ Opéra ทุกครั้งผมยังคงอัศจรรย์ใจเหมือนเดิม! ผมขนลุก บอกตัวเองว่าผมไม่มีวันเข้าไปในโลกใบนั้นได้ แต่นิวยอร์คเกอร์ก็ยังคงทำให้ผมฝันอยู่ ใช่แล้ว พวกรูปวาดที่ผมเห็นเป็นเหมือนโลกอีกใบ โลกที่ซับซ้อนมาก
Marc Lecarpentier : ถึงอย่างนั้นคุณก็ยังคงฝัน ว่าวันหนึ่งจะได้ทำงานให้กับหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น?
Sempe : ใช่! ผมเป็นนักฝันเสมอ
ดังนั้น ผมจึงไม่ได้คิดว่า “วันหนึ่ง ฉันจะทำได้”
แต่เป็น “วันหนึ่ง ฉันจะมีโชค”
ซึ่งนั่นไม่เหมือนกัน
====
(ไว้มาเล่าต่อนะคะ : D )