( For English please scroll down )
The Colours of Sacred เป็นนิทรรศการที่จัดขึ้นทุกสองปีโดยพิพิธภัณฑ์ดิโอเซซาน เมืองปาดัว ประเทศอิตาลี จัดต่อเนื่องกันมา 15 ปีแล้ว นิทรรศการนี้จะเน้นแสดงความหลากหลายทางวัฒนธรรมผ่านมุมมองของนักวาดภาพประกอบที่มีต่อหัวข้อต่างๆ ซึ่งหัวข้อนั้นก็จะเปลี่ยนไปทุกครั้งที่จัด เช่น การท่องเที่ยว วัฒนธรรมการรับประทานอาหาร และในปีล่าสุดนี้ก็เป็นหัวข้อเกี่ยวกับร่างกาย
ทางนิทรรศการจะส่งจดหมายเชิญให้นักวาดภาพประกอบที่สนใจได้ทราบรายละเอียด ที่น่ารักคือ ทางทีมงานจะอธิบายหัวข้อนั้นๆ ไว้อย่างครบถ้วนและส่งเสริมให้นักวาดภาพประกอบแต่ละคนตีความออกมาเป็นภาพวาดในแบบฉบับของตัวเอง นักวาดภาพประกอบที่เคยส่งงานเข้าร่วมแสดงจะมาจากหลากหลายประเทศค่ะ ทั้งยุโรป เอเชีย และอเมริกาใต้ สำหรับใครที่สนใจส่งบ้างในอีกสองปีข้างหน้า เราแนะนำให้คอยติดตามเวปไซต์ของ The Colours of Sacred ไว้นะคะ (มีรายละเอียดอยู่ด้านล่างโพสต์)
กรรมการที่คัดเลือกภาพให้ร่วมแสดงในปีนี้มีทั้งหมด 8 ท่านด้วยกัน สองท่านจากในนั้นมีคุณเปาโล แคนตัน จากสำนักพิมพ์คุณภาพของมิลานที่มีชื่อน่ารักว่า “หนูช่างเพนท์” และ คุณ ซิลเวีย เบลโล นักวาดภาพประกอบชาวฝรั่งเศส
.
.
‘The Colours of the Sacred’ is the biennial international illustration exhibition organized by Diocesan Museum of Padua, Italy. It promotes the different aspects of culture from illustrators around the world.
It had many different themes in past 15 years: the colours of the sacred, the creation, water, from fire to light, land, air, travel, around the table. And the lastest one is ‘The Body’ or ‘Il corpo’ in Italian.
“Self-awareness is exactly the opening theme of the ninth edition of The Colors of the Sacred. Through its pictures, the exhibition aims at narrating the human body and its central role in life, starting from the simplest experiences of self-awareness, and exploring the possible approaches to otherness – and in particular such aspects as changes and the experience of limits – and to the infinity we all from part of.” – Andrea Nante, Diocesan Museum of Padua, il corpo exhibition catalogue, page 35
.

.
แล้วหัวข้อ “ร่างกาย” ที่เราได้รับมานั้น เราจะมองหรือตีความมันได้อย่างไรได้บ้าง? ทางผู้จัดเขายกตัวอย่างมาหลายแง่มุมค่ะ เช่นว่า เด็กๆ รับรู้ว่าเขาเป็นตัวเขาเองผ่านร่างกาย ตา จมูก ปาก แขน และขา หัวใจที่เต้น-เขามีร่างกายที่เคลื่อนไหวได้ รับรู้อารมณ์ความรู้สึกได้ “ฉันนี้ไม่สามารถแยกจากร่างกายได้” เด็กๆ ใช้ร่างกายของเขาทำหลายสิ่งหลายอย่าง ร่างกายคือตัวตนของเขา
ร่ายกายจะไม่อยู่คงที่ สรีระของทั้งเด็กหญิงและชายจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่น่าเจ็บปวดและน่าตื่นเต้นไปพร้อมๆ กัน เด็กๆ จะเติบโตขึ้นพร้อมกับมุมมองต่อโลกที่แตกต่างไปจากเดิม เด็กๆ จะค่อยๆ สร้างตัวตนผ่านมุมมองที่พวกเขามีต่อตัวเอง และผ่านมุมมองที่คนอื่นมีต่อพวกเขาเองด้วย
ในระหว่างกระบวนการนี้ มีร่างกายของใครหลายๆ คนที่ไม่ได้รับการยอมรับ ถูกปฏิเสธ ถูกละเลย หรือแม้กระทั่งถูกกำจัดทิ้ง เพียงเพราะว่าร่างกายของพวกเขานั้นไม่สมบูรณ์พร้อมตามมาตรฐานความสวยงามของสังคม ร่างกายนั้นแข็งแกร่งมาก แต่ในขณะเดียวกันก็ช่างแสนเปราะบาง
นักวาดแต่ละคนก็จะตีความออกมาเป็นภาพแตกต่างกันไป ลองดูตัวอย่างจากภาพข้างล่างนี้ก็จะเห็นไอเดียน่ารักๆ เต็มไปหมดค่ะ อย่างสมองที่เป็นบอลลูนสามารถพาเราล่องลอยไปไหนต่อไหนได้ หรือหัวใจที่กลายเป็นโลกใต้น้ำ เป็นต้น
.

.
Every two year, I’ll receive an invitation email about a new theme of the exhibition from ‘The Colours of the Sacred’. It is well-explained in details; very professional. This year the selection committees were Sylvie Bello, Giorgio Bezze, Corrado Bosi, Paolo Canton, Marnie Compagnaro, Andrea Nante, Antonio Panzuto, and Vania Trolese.
“We ask the illustrators who would like to participate to deal with this theme considering also the different approaches of various cultures with regard to the body, the models offered by the society they live in, the relation with diversity and disability, the role of the body in rites and religious traditions.” – ‘The Colours of the Sacred’ 2018
.

.

.
ภาพที่เราวาดและได้รับเลือกคือภาพเด็กผู้หญิงตัวเล็กกับคุณแม่ค่ะ ภาพมีชื่อว่า “ผิวคุณแม่นุ่มจังเลย” และ “เธอเหมือนฉันเลยนะ” โดยคุณ Andrea Nante ได้เขียนถึงสองภาพนี้ไว้ในสูจิบัตร il corpo ว่า
“Our body is “me and you”, and this relational dynamics is primarily originated in the mother-child relationship, well represented in our exhibition thanks to Yodchat Bupasiri’s effective monochromatic illustrations.” – il corpo exhibition catalogue page 36
เพราะเด็กรู้จักตัวเองก่อน จึงเปรียบเทียบความคล้ายและความต่างของตัวเองกับตุ๊กตาที่ถืออยู่ได้ และในขณะเดียวกันเด็กก็เริ่มรู้จักผู้อื่นด้วยการเรียนรู้จากบุคคลใกล้ตัว นั่นคือคุณแม่ของเธอนั่นเอง ( สามารถดูขั้นตอนการทำงานได้ที่ลิงก์นี้นะคะ )
Here are my selected illustrations:
.

.

.


.
ภาพงานของเรายังได้ลงโปรโมทในนิตยสาร messaggero dei ragazzi อีกด้วย
There were many articles about this exhibition and I also found my illustration on
messaggero dei ragazzi Feburary issue:

.
The most exciting part for me in this exhibition was my works were selected to reproduce into low relief sculpture together with works of other 6 illustrators. It was a part of project for people with physical disabilities. It’s wonderful to know that the exhibitors have expanded the accessibility of illustrations – not only via seeing, but listening and touching too.
The lady in this photo is Sabrina Baldin. She was invited by Museo Diocesano di Padova to test this section of exhibition. She couldn’t see but she could touch these low relief sculptures and listen to the voice that describe about my works.
.

.
ทางนิทรรศการได้เลือกงานของศิลปินมา 7 คน (จากชิ้นงานทั้งหมดที่จัดแสดง 76 ภาพ /ศิลปิน 45 คน) มาร่วมโปรเจคแปลงงานศิลปะให้สามารถเข้าถึงได้สำหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็นและได้ยิน งานสองชิ้นของเราได้รับคัดเลือกค่ะ
ภาพได้ถูกขยายและแปลงเป็นงานประติมากรรมนูนต่ำ สีของงานนั้นคงสีเดิมจากภาพสองมิติไว้ทั้งหมด อันนี้น่าทึ่งมาก ดูจากภาพนี้เรายังคิดว่าเป็นภาพปริ้นท์ธรรมดาอยู่เลย แต่จริงๆ ไม่ใช่ นอกจากนี้ยังมีไฟล์เสียงคำบรรยายภาพและนิทรรศการเตรียมไว้พร้อมอีกด้วยค่ะ
ในภาพนี้คือคุณ Sabrina Baldin กำลังสัมผัสชิ้นงานของเราค่ะ เธอเขียนบันทึกเล่าว่า เธอเป็นผู้บกพร่องทางการมองเห็นคนแรกที่ทาง Museo Diocesano di Padova เชิญให้ไปทดสอบนิทรรศการ เธอบอกว่าผลมันเยี่ยมมาก เธอขอบคุณทางพิพิธภัณฑ์สำหรับความคิดริเริ่มอันสวยงามนี้ การเข้าถึงวัฒนธรรมควรเป็นสิทธิของทุกคน และเธอหวังว่านี่จะเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเรื่องอื่นๆ ต่อไป
.

.
” lo, il mio corpo e l’altro ” or ” Me, My Body and the Other ” is the caption on the right side of sculpture:
We are alone in this world, and each time we enter into relation with somebody we reveal a part of ourselves. We construct our identities through the direct perception of ourselves, but also through the perception that others have of us. A relation of inter-subjectivity is established: my body, which allows me to encounter the other, in a certain sense “does not exist” if I do not encounter the other. – il corpo exhibition,2018
There was a sensorial itinerary for blind and deaf-mute people. The audiences could use an application with QR code and listen to the description of each illustration , they could touch the 3D panel, look the Sign Language performed by this woman:
.
.
ภาพข้างล่างนี้เป็นสูจิบัตร ถุงผ้า และโปสการ์ดที่ทางมิวเซียมส่งมาให้ค่ะ น่ารักมากๆ
.

.
.

.

.
.
.
วกกลับมาที่บรรยากาศนิทรรศการอีกครั้ง
ที่งานจะมีกลุ่มเด็กจากโรงเรียนต่างๆ เข้ามาเยี่ยมชมและทำกิจกรรมกันอยู่เรื่อยๆ ทางพิพิธภัณฑ์ก็จะมีบริการนำชมด้วยค่ะ
.


.
และนอกจากการทำเวิร์กช็อปศิลปะแล้ว ระหว่างนิทรรศการนี้ยังมีการฉายหนัง การเต้นร่วมสมัย และการแสดงดนตรีซึ่งมีความเกี่ยวเนี่องกับหัวข้อ “ร่างกาย” อีกด้วยค่ะ มีการแสดงหนึ่งที่เราโชคดีมากที่ได้ชม เพราะพวกเขาบินมาแสดงที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา (ในวาระ 150 ปีครบรอบความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและอิตาลี) นั่นคือการเต้นร่วมสมัยที่ชื่อว่า “การโจมตีของขนมปัง” โดยคณะ E.sperimenti Dance company ค่ะ
.
Contemporary Dance: Bread attacks or ‘Attacchi di pane’
There were many performances and activities during this exhibition period related to ‘il corpo’ theme, for example, a movie screening about the paralympic swimmer champion name Francesco Bettella, dance accompanied with piano “10 + 1 PIANO ETUDES” by Bernardino Beggio and Elena Friso (directed by Laura Pulin), and a contemporary dance ‘Attacchi di pane’.
.

.
การแสดงที่ไทยอาจจะต่างกับที่ปาดัวอยู่บ้างคือ ของเขาจะแสดงกลางแจ้งกันเลย เด็กๆ ก็นั่งชมที่พื้นตามสบายอย่างในภาพข้างบน ส่วนการแสดงที่ไทย จะแสดงที่ศูนย์วัฒนธรรมฯ ในโรงเล็กค่ะ (ภาพล่าง)
สำหรับเราแล้ว ขนมปังที่เป็นตัวพระเอกหลักนั้นเป็นตัวแทนของความหวัง ความฝัน ความปรารถนาต่างๆ ที่คนๆ หนึ่งจะไปได้ถึง แต่ว่าแต่ละคนนั้นก็มีขอบเขตข้อจำกัดของตัวเอง (เก้าอี้ที่พวกเขานั่งอยู่) ทุกๆ ครั้งที่ใครคนใดคนหนึ่งพยายามลุกออกไปจากเก้าอี้ ก็จะถูกคนอื่นๆ ห้ามเสมอๆ
การดิ้นรนของนักเต้นที่จะเข้าใกล้ขนมปังแต่ก็ต้องผิดหวังอยู่ร่ำไปนี้ ในหลายๆ พาร์ทก็ทำให้เรารู้สึกเบื่ออยู่เหมือนกัน เพราะมันช่างซ้ำเหลือเกิน เหมือนเราถูกบังคับให้ดู Sisyphus กลิ้งหิน แต่ฉากจบของการแสดงนี้ก็ทำให้เรากระจ่างว่าความน่าเบื่อหน่ายนั้นได้ถูกสร้างมาอย่างพอเหมาะพอดีแล้ว
องค์ประกอบของฉากจบนั้นได้มาจากภาพวาด The last supper ของ เลโอนาร์โด ดาร์ วินชี โดยพระคริสธรรมได้ระบุไว้ดังนี้ : “เทศกาลกินขนมปังไม่มีเชื้อที่เรียกว่าปัศคามาใกล้แล้ว พวกปุโรหิตใหญ่กับพวกอาลักษณ์จะฆ่าพระองค์ก็ต้องแสวงหาช่อง เพราะพวกเขากลัวพวกราษฎร
เมื่อถึงเวลา พระองค์ทรงนั่งโต๊ะพร้อมด้วยอัครสาวก พระองค์ตรัสแก่เขาว่า “เรามีความปรารถนาอย่างยิ่งที่จะกินปัศคานี้กับพวกท่านก่อนเราจะต้องทนทุกข์ทรมาน ด้วยเราบอกท่านทั้งหลายว่า เราจะไม่กินปัศคานี้ต่อไปจนกว่าจะสำเร็จความหมายของปัศคานั้นในแผ่นดินของพระเจ้า” พระองค์ทรงหยิบจอกขอบพระคุณแล้วตรัสว่า “จงรับจอกนี้แบ่งกันกิน เพราะเราบอกท่านทั้งหลายว่า เราจะไม่กินน้ำองุ่นนี้อีกต่อไปจนกว่าแผ่นดินของพระเจ้าจะมาตั้งอยู่แล้ว” พระองค์จึงหยิบขนมปังขอบคุณและหักส่งให้แก่เขาทั้งหลาย ตรัสว่า “นี่แหละเป็นกายของเรา (ซึ่งได้ประทานให้สำหรับท่านทั้งหลาย จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา)” “
การแสดงนี้มีความเฉพาะเจาะจงแต่ในขณะเดียวกันก็มีความเป็นสากล อย่างที่ทางผู้จัดได้บอกไว้ว่า ธีมหลักคือเรื่องมนุษย์ในสังคมนี่เอง Man is hungry of something that he can never achieve alone. ที่จริงถ้าหากตัดเรื่องจุดอ้างอิงทางศาสนาออกไป โดยรวมแล้วการแสดงนี้ก็ยังมีเนื้อหาที่หลายคนน่าจะเข้าถึงและรู้สึกร่วมไปด้วยได้(เช่น ในเรื่องการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม) ไม่ว่าจะเป็นชาติไหนหรือว่ามีความเชื่อไหนก็ตาม ต้องชมนักออกแบบท่าเต้น คุณ Federica Garlimberti ค่ะ
.

.
‘Attacchi di pane’ was performed on May 5, 2018 at Arti Inferiori – MPX Padova , and after that they came to perform in Thailand on May 29, 2018 on the occasion of cerebrating 150th anniversary of the diplomatic relations Between Italy and Thailand.
“This is a show that brings on stage ironically an ancient theme, but very current: mankind in society. The audience will be involved in a path where fears and weakness, particularly the human ego exaltation, will come on stage. BREAD, the metaphorical character of the show, is the “mere” answer to vacuum that any individual tries to fill with his aspirations and daily fears, which are overcome only if he gets “into the group”, the “society”, where he can be recognized. Man is hungry of something that he can never achieve alone.” – An explanation from Italian Festival Thailand
.

.
It was, too, about self-awareness; all dancers tried to achieve something from where they stood; they had their own chairs; they had their bodies. The bread was there, in front of them. Their bodies moved back and forth (you can see the VDO clip via this link ), trying to avoid social sanctions.
Attacchi di pane was performed in Jarkata on December 6, 2017 and there was an interesting article about it on Listen to the World website:
Serrano Sianturi (Chairman of Sacred Bridge Foundation) takes a deeper look on the bread scene. He suggests that the bread scene may be the representation of “break a bread”, a term stemmed from Christian culture in Europe. The depiction of “break a bread” can be found in John 6:1-14, in which Jesus shared five pieces of bread and two pieces of fish to 5,000 hungry people. But, the most famous depiction of this term can be found in the Last Supper, in which Jesus breaks and shares the bread to the Apostles on the eve of his crucifixion and says, “This is my body given to you.” With this story, bread can be seen as the symbol of love, friendship, solidarity, peace, and reconciliation.
.

.
ตอนท้ายการแสดง ผู้ชมทุกคนได้รับเชิญให้มาชิมขนมปังด้วยนะคะ ก้อนใหญ่มาก : D
What I loved was the composition in the last scene which was borrowed from Leonardo da Vinci’s The Last Supper; one who didn’t know about where this scene came from could still enjoy the show; one who knew, me for example, would laugh out loud for the brilliance of the choreographer, Federica Garlimberti.
Many elements in this performance relates to history of religious beliefs, yet it is opens to any possibility of interpretations.
.

.
And this is the only one performance from many interesting events happened during the ‘il corpo’ exhibition period.
.

.
.
.
.
Here are the list of the selected Illustrator for ‘il corpo’ exhibition
Abdollahi Mitra – Iran
Agostini Terry – Italy
Alcantara Pedraza Mariana – Mexico
Andriy Romana (Romana Romanyshyn and Andriy Lesiv) – Ukraine
Appel Federico – Italy
Aresti Maria Chiara – Italy
Baladan Alicia – Uruguay
Bardaee Sahar – Iran
Bello Sylvie – France
Benfatto Elisabetta – Italy
Bossù Rossana – Italy
Bupasiri Yodchat – Thailand
Cancilleri Alain – Italy
Carmisciano Isabella – Italy
Castagnoli Anna – Italy
Concejo Joanna – Poland
Cormand Bernat – Spain
De Cristofaro Alessandra – Italy
Diella Daniele – Italy
Facchini Vittoria – Italy
Iannaccone Letizia – Italy
Jarrie Martin – France
Lozano Luciano – Spain
Macchia Maria Sole – Italy
Malgarise Valentina – Italy
Manna Giovanni – Italy
Marcolin Marina – Italy
Mattotti Lorenzo – Italy
Migliorisi Lilia – Italy
Panini Arianna – Italy
Pacheco Gabriel – Mexico
Rea Simone – Italy
Rossato Michelangelo – Italy
Scuderi Lucia – Italy
Stefanini Sara – Italy
Stangl Katrin – Germany
Talentino Elisa – Italy
Tieni Daniela – Italy
Tonelli Anais – Italy
Urberuaga Emilio – Spain
Vairo Arianna – Italy
Ventura Ana – Portugal
Vignaga Francesca Dafne – Italy
Zabala Javier – Spain
Zaccaria Silvia – Italy
.
.
THE DATES OF THE EXHIBITION
The exhibition staged in the Gallerie of the Museo Diocesano, in Padua, from 20th January 2018 to 24th June 2018.
A TRAVELLING EXHIBITION
The exhibition has always been thought as travelling, so as to disseminate as much as possible the message of the entire project. Thus, as it has already happened for the previous editions, after the stopover in Padua, the 9th edition of the exhibition will be displayed in other locations as well, until the opening of the following edition (January 2020).
International exhibition of illustrations “The Colours of the Sacred”
info@icoloridelsacro.org
www.icoloridelsacro.org
www.museodiocesanopadova.it
=====
ขอบคุณ คุณณดี ขจรน้ำทรง (Nedine Kachornnamsong) คุณ Ilaria Nardone และพี่จูน June Osti ที่ช่วยให้ข้อมูลเรื่องคำแปลชื่อการแสดงการโจมตีของขนมปังค่ะ และขอขอบคุณน้องอ้อ ณวรา หิรัญกาญจน์ ที่ช่วยตรวจทานคำสะกดและดูภาพรวมของบล็อกนะคะ : )
Many beautiful photos on this blog were kindly sent to me by Vania Trolese, one of the selection committee and exhibition officer of Diocesano Museum. Thank you so much! ❤
*** : ) ***