Tara Books team shared experiences of hand-made printing and book-building to us at House of Commons – Cafe & Space, 18.00 – 20.30, 24 July 2017 and
at Fathom Bookspace, 10 September 2018.
Bangkok, Thailand
======================
(บันทึกการฟังปี 2017)
ทีมบรรณาธิการและดีไซเนอร์จากสำนักพิมพ์ทาร่าบุ๊คส์ อินเดีย มาแชร์ประสบการณ์การทำหนังสือภาพให้พวกเราได้ฟังกันที่ House of Commons ค่ะ ขอบคุณทางร้าน น้องแซนและ The archivist ที่ช่วยกันจัดงานนี้ให้เกิดขึ้น ตามทาร่าบุ๊คส์มาตั้งแต่ปี 2012 ไม่คิดเลยจริงๆ ว่าจะมีวันที่เราจะได้มานั่งฟังอย่างใกล้ชิดแบบนี้
โน้ตไว้สั้นๆ ว่าถึงแม้จุดแข็งของทาร่าคือการทำหนังสือสกรีนด้วยมือ(ซึ่งในทางกลับกันก็อาจเป็นจุดอ่อนได้เหมือนกันในกรณีที่หนังสือขายดี เพราะไม่สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตได้รวดเร็วอย่างระบบออฟเซ็ต) แต่ว่าตอนนี้ทาร่าทำทั้งระบบออฟเซ็ตและแฮนด์เมดแล้วนะ(พิจารณาเป็นเล่มๆ ไป อย่าง Activity Book และหนังสือภาพหลายเล่มก็เป็นออฟเซ็ต) รวมทั้งภาพสกรีนอันไหนที่พิมพ์ไม่ได้มาตรฐาน ทาร่าก็นำไปแปลงโฉมเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่แล้วก็จำหน่ายต่อไป ทาร่ายังแยกสกรีนภาพเดี่ยวๆ จากหนังสือเป็น Art Prints เพื่อเป็นอีกช่องทางรายได้ให้กับศิลปินอีกด้วย : )
=======================
(บันทึกการฟังปี 2018)
Tara Books (tara แปลว่าดวงดาว) สนพ.หนังสือภาพและหนังสือภาพสำหรับเด็กจากประเทศอินเดีย tara มาไทยเป็นครั้งที่สองแล้ว
Talk session at Fathom bookspace 10/9/2018
How to CRAFT : From community to world-class book creators
เสียดายว่ากลับก่อนเพราะจำเป็น แต่ขอบันทึกสิ่งที่เราสนใจจากเท่าที่ฟังมาไว้ดังนี้
– กระบวนการของ Tara เป็นการทำงานเป็นทีมโดย นักวาด นักเขียน บรรณาธิการ นักออกแบบ และช่างพิมพ์ งานจะมีการประชุม-ถกเถียง-ปรึกษากันตลอด ซึ่งกินเวลานาน แต่ว่าจะทำให้งานจบได้เร็วในตอนท้ายเพราะทุกคนต่างเข้าใจกระบวนการ
– Tara ส่งเสริมช่าง/ศิลปินท้องถิ่นจากหลากหลายภาคในอินเดีย โดยดีไซน์เนอร์จะเป็นตัวเชื่อมและมีบทบาทสำคัญในกระบวนการทำหนังสือ (คืออย่างบ้านเราเข้าใจว่ามี บก. คนวาด และกราฟฟิกจัดหน้า แต่เหมือนเราไม่มี book designer ที่มาทำงานหนังสือภาพ/ หนังสือภาพสำหรับเด็ก เป็นกิจจะลักษณะแบบต่อเนื่อง?- ถ้ามีต้องขออภัยด้วยค่า) ศิลปินบางท่านเคยวาดแต่งานลงสเปซใหญ่ๆ เช่นผนังบ้าน แต่พอให้มาวาดลงกระดาษแล้วไม่เวิร์ก ดีไซน์เนอร์แก้ปัญหาโดยให้ศิลปิน วาดลงกระดาษไซส์ใหญ่เท่าผนังบ้าน แล้วจึงนำงานนั้นมาจัดการต่อ(ย่อ แยกส่วน ปรับสีฯลฯ)เพื่อให้พร้อมที่จะเป็นหนังสือต่อไป
– Tara ใช้เทคนิคริโซกราฟด้วย ไม่ได้ทำแต่สกรีนและออฟเซ็ต
– มิสเตอร์เอ ซึ่งเป็นช่างสกรีนให้กับ Tara มาตั้งแต่ต้น เป็นคนที่ไม่กลัวงานยากเลยย งานซับซ้อนขนาดไหนเขาก็หาทางออกให้ได้หมด ❤
– ดีไซน์เนอร์ที่ทำงานให้มีหลากหลายเชื้อชาติ อันนี้เราก็อยากถามเหมือนกันว่าทำไมสามารถดึงคนเก่งๆ มาร่วมงานได้ขนาดนี้ (ดีไซน์เนอร์คนแรกและเป็นคนที่วางรากฐานดีไซน์ให้สนพ. ตอนนี้สอนอยู่ที่ RCA) เดาว่าเป็นเพราะแบคกราวด์ของคุณกิต้า วูลฟ์ ผู้ก่อตั้ง และ Tara มีโปรแกรมศิลปินพำนัก เลยทำให้คนน่าสนใจๆ หมุนเวียนเข้ามาทำงานด้วยง่าย
– ชอบการที่สนพ อ่านทุกอย่างขาด ประทับใจที่พวกเขารู้ว่าตัวเองจะวางตำแหน่งแห่งที่ของตัวเองอย่างไรและในขนาดเท่าใด
ขอบคุณชาว fathom พี่หญิง-ล่ามผู้น่ารักซึ่งคอยแปลให้ตลอดงาน(พี่ซ้ายมือสุดภาพแรก) และอาหาร+ชาที่อร่อยมากๆๆ จากพี่นวล สนพ วงกลม ค่ะ
.
.
.
.
*
*
*
*
*
*
*
|
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*

*
*
*** : ) ***