The Romance of the Harem นิยายรักในราชสำนักฝ่ายใน (A collaboration with COLLAGECANTO)

* You can read about the second book, The English Governess at the Siamese Court, by following this >>link<< .
*
TRUTH is often stranger than fiction. – Anna Harriette Leonowens
*
(This is the making of ‘The Romance of the Harem’ book cover which I collaborated with COLLAGECANTO. There is no English translation on this post, but you can scroll down to see some photos with English captions.)

*

the romance of the harem book_thai version_Yodchat Bupasiri_collagecanto1

*

the romance of the harem book_thai version_Yodchat Bupasiri_collagecanto2

*

the romance of the harem book_thai version_Yodchat Bupasiri_collagecanto3

*

the romance of the harem book_thai version_Yodchat Bupasiri_collagecanto4

*

the romance of the harem book_thai version_Yodchat Bupasiri_collagecanto5

*

the romance of the harem book_thai version_Yodchat Bupasiri_collagecanto6

*

the romance of the harem book_thai version_Yodchat Bupasiri_collagecanto7

*

the romance of the harem book_thai version_Yodchat Bupasiri_collagecanto8

*

the romance of the harem book_thai version_Yodchat Bupasiri_collagecanto9

*

the romance of the harem book_thai version_Yodchat Bupasiri_collagecanto10

*

the romance of the harem book_thai version_Yodchat Bupasiri_collagecanto11

*

the romance of the harem book_thai version_Yodchat Bupasiri_collagecanto12

*

the romance of the harem book_thai version_Yodchat Bupasiri_collagecanto13

*

the romance of the harem book_thai version_Yodchat Bupasiri_collagecanto14

*
*

บันทึกเบื้องหลังการอ่านเพื่อออกแบบภาพปก รวมถึงขั้นตอนการทำ paper cutting และการถ่ายภาพปกนิยายรักในราชสำนักฝ่ายใน

*
*

อ่าน 

โดยปกติวิธีการอ่านโดยหยิบจับประเด็นในเรื่องมาเชื่อมโยงกับบริบทแวดล้อมร่วมกับการใช้คลังประสบการณ์และความทรงจำของตัวเองแล้วบิดผันออกไปหลายๆ ทาง มักเป็นวิธีหลักของฉันในการอ่านเพื่อนำมาถ่ายทอดเป็นภาพ แต่กับหนังสือเล่มนี้ซึ่งมีความเป็นวรรณกรรมเท่าๆ กับเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ วิธีอ่านย่อมแตกต่างออกไป

*

ต้นฉบับ The Romance of The Harem เขียนโดยแอนนา เลียวโนเวนส์ (Anna Harriette Leonowens) เล่าเรื่องเกี่ยวกับชีวิตและความรักของผู้หญิงฝ่ายในและผู้หญิงไทยในสมัยรัชกาลที่ 4 พิมพ์ครั้งแรก ค.ศ. 1873 (พ.ศ. 2416) หรือ 144 ปีก่อน โดย JAMES R. OSGOOD AND COMPANY สำนักพิมพ์อเมริกัน ฉบับแปลไทยเท่าที่ทราบมีสำนวนแปลของยาขอบซึ่งดึงต้นฉบับมาแปลเพียงสองเรื่องคือ เจ้าจอมทับทิบ และเจ้าจอมช้อย จัดพิมพ์อยู่ในหนังสือที่ชื่อ รักหลังราชบัลลังก์และสนมพระจอมเกล้า (ดอกหญ้า, 2532) และสำนวนแปลของอบ ไชยวสุ ในชื่อ นิยายรักในราชสำนักฝ่ายใน (คุรุสภา, 2516) ซึ่งเป็นต้นฉบับที่ฉันต้อง ‘อ่าน’

*

ในเวลาอันจำกัดก่อนสรุปการทำปก ฉันยืดเวลาให้ตัวเองได้อย่างมาก 15 วัน เพื่ออ่านต้นฉบับแปลพร้อมกับสุ่มเทียบอ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษเท่าที่จะอ่านได้เพื่อดูภาพรวม ระหว่างนั้นมีโอกาสได้อ่านเอกสารทางประวัติศาสตร์และบทวิเคราะห์ที่น่าสนใจบางฉบับ (ขอขอบคุณพี่ชาย –  วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา ที่เอื้อเฟื้อข้อมูลจากวารสารอ่าน ให้) แต่ก็นั่นเอง เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่โต ข้อมูลเอกสารก็ซับซ้อนและท่วมท้นจนเกินไป ดังนั้นเพื่อให้ทันเวลา การ ‘เลือกอ่าน’ ของฉันจึงเริ่มขึ้นตรงนี้

*

20427251_1429829823753073_1173798528_o copy

*
*

เรื่องที่ถูกเล่าสามชั้น

1) เรื่องที่ถูกเล่าโดยผู้เขียน : มุมมองอันจำกัดของผู้เล่า และข้อกังขาของผู้ฟัง(อ่าน)
ใน นิยายรักในราชสำนักฝ่ายในตอน “เจ้าจอมทับทิม / TUPTIM : A TRAGEDY OF THE HAREM” มีบทสนทนาระหว่างเจ้าจอมทับทิมและพระยาพรหมบริรักษ์ซึ่งน่าสนใจ คำยืนยันของเจ้าจอมทับทิมช่างซ้อนทับไปกับคำยืนยันในคำนำของแอนนาซึ่งเป็นผู้เขียน “เล่าความจริงได้เท่าที่รับรู้มา – เล่าความจริงได้เท่าที่เรื่องราวนั้นเกี่ยวเนื่องกับตนเอง” และข้อกังขาของพระยาพรหมบริรักษ์ที่มีต่อทับทิมผู้เป็นจำเลยก็ไม่ต่างจากข้อกังขาของผู้อ่านจำนวนไม่น้อยที่มีต่อผลงานของแอนนา “ดี-สนุกดี เธอเล่านิทานสนุกดีมาก แต่ว่าไม่มีใครเขาเชื่อเธอหรอก มาพูดกันแต่ที่เป็นเรื่องเป็นราวเถิด”

แอนนา : Truth is often stranger than fiction,’… that I deem it necessary to state that they are also true. … ‘I tell the tale as it was told to me,’ and written down by me at the time. (Preface of The Romance of the Harem)

เจ้าจอมทับทิม : “My lord, I am telling what I did myself, and not what anyone else did. Hear me, and I will speak the truth, so far as it relates to myself; beyond that I cannot go,” (p. 28 of The Romance of the Harem / ฉบับไทย Shine publishing หน้า 318)

พระยาพรหมบริรักษ์ : ‘Well, well!’ said P’hayaprome Baree Rak, ‘You have told your story beautifully, but nobody believes you.’ (p. 31 of The Romance of the Harem / ฉบับไทย Shine publishing หน้า 322)

*

จับภาพหน้าจอ 2560-10-11 เวลา 17.03.52
คำอุทิศจากต้นฉบับ / Dedication in The Romance of the Harem, published by JAMES R. OSGOOD AND COMPANY

*

Preface_Anna_The Romance of the Harem
คำนำจากต้นฉบับ / Preface in The Romance of the Harem, published by JAMES R. OSGOOD AND COMPANY

*

2) เรื่องที่ถูกเล่า/แต่งเติมใหม่โดยผู้แปล : ความเคอะเขินน่ารำคาญที่หายไป?

คึกฤทธิ์ : “ถ้าใครเคยได้อ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษของหนังสือเล่มนี้แล้วจะรู้สึกได้ทันทีว่ามีหลายตอนที่มีสำนวนเคอะเขิน และมีบางตอนที่แหม่มแปลภาษาไทยผิดๆ จนน่ารำคาญ แต่เมื่อครูอบมาแปลหนังสือเล่มนี้ออกเป็นภาษาไทย ความเคอะเขินน่ารำคาญเหล่านี้ก็หายไป ถ้าจะให้ข้าพเจ้าเลือกอ่านต้นฉบับตัวจริงหรือคำแปลของครูอบ ก็จะต้องขอเลือกอ่านคำแปลก่อนทุกครั้งไป (คำนำของคึกฤทธิ์ นิยายรักในราชสำนักฝ่ายใน Shine publishing หน้า 581)

*

บทแปลหลายส่วนถูกตัดทอน เสริมต่อ และเรียบเรียงใหม่ในฉบับแปลเพื่อความราบรื่นกลมกล่อมแต่หากอ่านในฐานะเรื่องกึ่งจริงกึ่งแต่งที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ จะพบว่ามีข้อมูลที่ขาดหายไป เช่น บทเปิดเรื่องจำนวน 13 หน้า อย่าง “MUANG THAI, OR THE KINGDOM OF THE FREE” ซึ่งเป็นข้อมูลและมุมมองของแอนนาที่มีต่อสยามและชาวสยาม ตอนสุดท้ายของบทนี้ได้เกริ่นถึงโลกอันชวนฉงนของนางห้ามก่อนจะเริ่มเล่าเรื่องหญิงสาวแต่ละคนในบทถัดไป

*

บทที่หายไปอีกเช่นบทจบสั้นๆ อย่าง “CHAPTER XXXI. THE ROYAL PROCLAMATIONS” ประกาศพระบรมราชโองการ การเริ่มรัชสมัยรัชกาลที่ห้าซึ่งมีการกล่าวถึงเรื่องการเลิกทาส และบทหลังบทจบที่ชื่อ  “A LEGEND OF THE GOLD AND SILVER MINES OF SIAM.” ที่ฉันเองก็ได้อ่านไปเพียงแค่ย่อหน้าเริ่มต้น

*

vela chow
A LEGEND OF THE GOLD AND SILVER MINES OF SIAM, The Romance of the Harem


*

ความแตกต่างระหว่างต้นฉบับและงานแปลยังไล่ไปถึงเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ระหว่างเหตุการณ์ บทบรรยาย บทสนทนา และความนึกคิดของตัวละครที่ถูกตัดต่อแทรกเพิ่มเข้ามา การเรียงลำดับใหม่ของเนื้อเรื่องให้ดูกลมกลืนต่อเนื่องกันมากขึ้น (เช่น เปลี่ยนการเรียงลำดับจากเรื่อง เจ้าจอมทับทิม –> ลออ ทาสพระองค์หญิง –> ธิดาเจ้าราชบุตร มาเป็น ธิดาเจ้าราชบุตร –> เจ้าจอมทับทิม –> เจ้าจอมช้อย –> ลออ-ทาสพระองค์หญิง – ทั้งนี้วิธีการเรียงลำดับเรื่องเล่าก็นับเป็นเรื่องเล่าอย่างหนึ่งในตัวมันเอง) ทั้งหมดนี้เป็นความเคอะเขินน่ารำคาญที่หายไป และเสียงของผู้เล่าไม่อาจส่งมาถึงผู้อ่านได้อย่างครบถ้วน

*

22789911_1507709725965082_1468093695_o
หมายเหตุสำนวนแปลของอบ ไชยวสุ นิยายรักในราชสำนักฝ่ายใน ฉบับ Shine Publishing House หน้า 578

*

22713103_1507709705965084_317751473_o
หมายเหตุสำนวนแปลของอบ ไชยวสุ นิยายรักในราชสำนักฝ่ายใน ฉบับ Shine Publishing House หน้า 579

*

22712896_1507719349297453_1239838601_o

*

ตัวอย่างต้นฉบับของแอนนา เลียวโนเวนส์ และ สำนวนแปลอบ ไชยวสุ :

 

khoon thow app.re
ตอนคุณท้าวแอบ หัวหน้าตุลาการฝ่ายหญิง / Chapter VI. p.58 The Romance of the Harem, published by JAMES R. OSGOOD AND COMPANY

*

khun thow app2 copyre
ตอนคุณท้าวแอบ หัวหน้าตุลาการฝ่ายหญิง ย่อหน้าเดียวกันกับภาพด้านบน สำนวนแปล อบ ไชยวสุ

*

เทียบต้นฉบับและการแปลระหว่าง The Romance of the Harem หน้า 21-22 กับ นิยายรักในราชสำนักฝ่ายใน สำนวนอบ ไชยวสุ Shine publishing หน้า 310-311

“…but the one idea that took possession of my mind was: “Poor little Tuptim, in that dreadful dungeon underground.” —> “นี่เราจะช่วยทับทิมน้อยน่าสงสารได้วิธีไรหนอ?” บางครั้งก็มีเสียงแว่วๆ คล้ายพูดแผ่วๆ อยู่ในระยะไกลว่า “ครูแหม่มขา ช่วยทับทิมด้วยเถอะค่ะ”

“I was tired of the palace, tired of witnessing wrongs I could not remedy, and half afraid, too, to enter that weird, mysterious prison-world after nightfall.” —> แต่สมองฝ่ายเหนี่ยวไว้ให้ยับยั้งนั้น แสดงภาพความน่ากลัวอันตรายของการไปในวังเวลาวิกาล แม้ข้าพเจ้าเป็นหญิงเพศเดียวกับพลเมืองทั้งหมดของ “เมืองนางห้าม” แต่ข้าพเจ้าเป็นคนต่างชาติต่างภาษา อาจจะเป็นสิ่งที่สงสัยไปในทางร้ายก็ได้

*

จับภาพหน้าจอ 2560-07-31 เวลา 10.50.38

*

“The gates are open for the prime-minister, mam dear,” said she, in a low, pleading voice, “and you can get in now without any difficulty. —> “ข้าพเจ้าทักว่า “อ้าว ยังไม่ได้กลับหรอกหรือ” นางทาสีเสียงเครือ “ยังเจ้าค่ะ ดิฉันคอยแหม่มอยู่ตรงประตูนั่นเองเจ้าค่ะ ดิฉันลืมกราบเรียนไปว่าคืนนี้มีเสนาบดีจะเข้าเฝ้าหลายท่าน แล้วโปรดเกล้าฯ ให้เฝ้าที่ท้องพระโรงฝ่ายในด้วย ประตูก็จะไม่ลั่นดาลจนกว่าท่านเสนาบดีกลับ คุณครูแหม่มก็จะเข้าออกโดยไม่ต้องเรียกเปิดหรอกเจ้าค่ะ ไปหน่อยซิเจ้าคะ สงสารคุณท่านด้วยเถิดเจ้าค่ะ”

*

tuptim_The Romance of the Harem copy
หน้าขวา ภาพนางทาสชาวสยาม

*

3) เรื่องที่ถูกอ่าน/ตีความเล่าใหม่โดยผู้อ่านเนื่องด้วยมีหลักฐานใหม่
ด้วยเป็นเรื่องกึ่งจริงกึ่งแต่ง จึงมีข้อถกเถียงต่อเหตุการณ์ต่างๆ ในเรื่องที่แอนนาเขียนอยู่มาก อย่างไรก็ดี ปรากฏหลักฐานและความคิดเห็นที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว : “ที่จะไปถอดถอนหญิงดังกล่าวทั้งสองจากข้อผูกมัดให้รับใช้สอยนายที่ถูกต้องตามบทกฎหมายแล้ว ก็ย่อมจะเป็นการล่วงล้ำกฎหมายแลธรรมเนียมของชาวสยามหนักนาทีเดียว, หรือว่าจะช่วยเอื้อเฟื้อให้เธอไปซื้อหาหญิงทาสดังกล่าวมาแล้วค่อยปล่อยไปโดยไม่ได้ขอความยินยอมพร้อมใจจากคุณแพผู้เป็นนายเสียก่อน ก็เห็นเป็นการอุกอาจหนักหนาเท่ากัน. แต่เธอจะแวะไปเยี่ยมคุณหญิงผู้มีชื่อนั้นด้วยตัวเธอเองก็ย่อมทำได้, เชื่อว่าเธอคงได้มาเป็นแน่ ด้วยสติปัญญาและการพูดจาหว่านล้อมชักชวน ขอซื้อหญิงทาสที่ว่าในราคาเงินไม่สูงนัก ลางทีจะสัก 100 บาทรวมกันทั้งสองคน, (สุพจน์ แจ้งเร็ว แปลจากพระราชหัตถเลาขาถึงเลดี้ เลียวโนเวนส์ 12 พ.ค. 1864 – https://www.silpa-mag.com/club/art-and-culture/article_3236 )

*

maha mongkut
เนื้อความในพระราชหัตถเลขาเรื่องทาสลออ ในตอน คุณท้าวแอบ หัวหน้าตุลาการฝ่ายหญิง p 58 , The Romance of the Harem

*

อ่านเทียบกับเรื่อง ลออ-ทาสพระองค์หญิง ในนิยายรักในราชสำนักฝ่ายใน : “ถึงครูแหม่ม ฉันเรียกหญิงภัทรีมาถามดูแล้ว เธอว่าไม่รู้เรื่องภรรยานายโกดาห์ที่ไหนเลย มีทาสคนหนึ่งชื่อลออจริง แต่เป็นลูกท่านซึ่งตกมาเป็นของเธอแต่เด็ก เวลานี้เจ้าจอมมารดาอึ่งไม่อยู่ ไปกรุงเก่าเสีย กลับมาฉันจะสอบสวนให้อีก  มหามงกุฎ ป.ร.” (นิยายรักในราชสำนักฝ่ายใน Shine Publishing 390-391)

“จะโอนก็เอาเงินค่าตัวมา” คุณจอมตะโกนเสียงเขียวแล้วก็ลุกขึ้นเดินออกจากศาลาทันที…คุณท้าวหันมาทางข้าพเจ้า พูดว่า “ครูแหม่มเป็นเจ้าของลออแต่ ณ บัดนี้แล้ว วันนี้ดิฉันจะทำเอกสารกรมธรรม์ให้ พรุ่งนี้บ่าย 3 โมงนำเงินมาครึ่งชั่ง เรื่องก็จะได้เป็นอันเสร็จเรียบร้อยและรับตัวลออไปได้ทีเดียว…” ( นิยายรักในราชสำนักฝ่ายใน Shine Publishing หน้า 394)

คึกฤทธิ์ : “อีกประการหนึ่งยายแหม่มแกยกเมฆของแกเรื่อยเจื้อยเป็นเรื่องเป็นราว สนุกสนานอ่านเล่นพอเพลินๆ…เป็นต้นว่าพระนางสุนาถวิสมินตรานั้นก็ไม่มีตัวจริงในประวัติศาสตร์ เจ้าจอมและพระปลัดที่ถูกเผาทั้งเป็นนั้นก็ไม่มีอีก แม้แต่พระเจดีย์ที่อ้างว่าสร้างเป็นอนุสรณ์ของคนทั้งสองนั้นก็ไม่เคยมี แต่คนจริงๆ ก็ปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มนี้ไม่น้อย” (คำนำของคึกฤทธิ์ ปราโมช นิยายรักในราชสำนักฝ่ายใน Shine Publishing หน้า 581)

*

watt sah kate
เรื่องเจดีย์คู่ที่ถูกสร้างขึ้นหลังคุณพระปลัดและเจ้าจอมทับทิมถูกเผา p. 41 , The Romance of the Harem

*

ปรามินทร์ เครือทอง : “อย่างไรก็ดี กรณีเผาทั้งเป็นนี้ไม่ใช่เรื่องที่ไม่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ หากแต่เคยเกิดขึ้นโดยไม่ถูกบันทึกบ้าง ถูกชำระออกบ้าง เช่นกรณีเผาทั้งเป็นเจ้าจอมมารดาคุ้มในรัชกาลที่ 1 มีบันทึกเล็ดลอดออกมาดังนี้…เรื่องราวตอนนี้หายไปจากพระราชพงศาวดารฉบับทรงตรวจชำระอย่างไร้ร่องรอย” (ครูฝรั่งวังหลวงกับชมรมคนเกลียดแอนนา ปรามินทร์ เครือทอง – วารสารอ่าน ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 เมษายน-กันยายน 2552)

อ่านเทียบกับเรื่องเจ้าจอมทับทิม ในนิยายรักในราชสำนักฝ่ายใน : “พิมพ์เล่าให้ฟังว่า การทรมานขั้นสุดท้ายที่เด็ดชีวิตทั้ง 2 คนไปนั้น คือติดไฟขึ้นใต้ยกพื้น…แล้วเขาก็ลากศพลงมาและเอาไปโยนทิ้งไว้ที่ป่าช้าวัดสระเกศ” (นิยายรักในราชสำนักฝ่ายใน Shine Publishing หน้า 332)

*

fire
พิมพ์เล่าให้แอนนาฟังว่าคุณพระปลัดและเจ้าจอมทับทิมถูกเผา p.39 , The Romance of the Harem

*
*
*
*
*

note copy
my sketch

*

อ่านเป็นปก

เรื่องที่ถูกเล่าชั้นที่ 1 : เรื่องถูกผู้เขียนเล่าผ่านการมองจากกรอบของตนเอง ระหว่างเรื่องที่เกิดขึ้นกับผู้เขียนและเรื่องที่เกิดขึ้นกับผู้แวดล้อมผู้เขียน(อันถูกอ้างว่ามีเค้าความจริง) เรื่องที่ถูกบอกเล่าต่อๆ กันมาว่าเป็นความจริง และการแต่งเติม
เรื่องที่ถูกเล่าชั้นที่ 2 : เรื่องถูกผู้แปลอ่าน-ตัดต่อ-แต่งเติมบางส่วนจากต้นฉบับ
เรื่องที่ถูกเล่าชั้นที่ 3 : ไม่เพียงแต่ตัวเรื่องที่ถูกวิเคราะห์ใหม่เพราะมีหลักฐานใหม่ ตัวผู้เขียนเองได้ถูกอ่านผนวกควบเข้ากับเรื่องที่ตนได้เล่า เป็นการอ่าน ตีความ เขียนและเล่าใหม่ซ้อนไปไม่รู้จบสิ้น

การจำกัดมุมมองและการซ้อนทับกัน ทำให้นึกไปถึงวิธีการของงานคราฟบางอย่าง นั่นคือศิลปะการตัดกระดาษ

Paper Cutting คือการลงแรงตัดออกเพื่อทำให้ชัดขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็สร้างกรอบการมอง ทำให้มองทะลุผ่านจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดได้ แต่ไม่ทั้งหมด นอกจากนี้ยังเป็นวิธีที่ประณีต ให้ความรู้สึกสง่า และค่อนข้างมีระยะห่าง

จะใช้กระดาษสีหรือกระดาษขาว
ฉันพบว่าก่อนที่เรื่องซึ่งถูกอ่านจนช้ำแล้วจะถูกอ่านต่อไปอีก เราจำเป็นจะต้องตั้งหลักกันอีกครั้งเสียก่อนเพื่อการอ่านใหม่ ดังนั้นสีขาวสะอาดตาแต่ก็ยังเต็มไปด้วยรายละเอียดน่าจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม

*

งูปรากฏในฉากใด และมีความสำคัญอย่างไร
‘I tell the tale as it was told to me.’ ‘อ่าน’เพื่อเป็นปกก็แทบไม่ต่างอะไรกับผู้เขียนต้นฉบับที่ ‘อ่าน’เรื่องราวรอบตัวเพื่อนำมาเล่าต่อ อ่านเพื่อเป็นปกครั้งนี้คืออ่านเรื่องเล่าที่จริงในความเป็นเรื่องเล่าหากคล้ายเป็นความเปรียบอันมีนัยสำคัญในโลกจริง มีตอนหนึ่งในเรื่องเจ้าจอมซ่อนกลิ่น แอนนาเขียนเล่าไว้ถึงงูที่เลื้อยผ่านโต๊ะเรียนไป :

*

serpent1 copy copy
แอนนาสังเกตลักษณะงูที่เลื้อยผ่านไป p.244 The Romance of the Harem

*

“…สันหลังงูนี้เป็นสีม่วงสดใส สองข้างมีเกล็ดแดงขลิบดำ ส่วนหน้าท้องเป็นสีกุหลาบอ่อน มีขอบสีดำเช่นเดียวกับเกล็ดข้าง ทางท่อนหางสุดเป็นสีขี้เถ้า ภาพอันงามด้วยสีและการประดับประดาราวกับจับสลับด้วยมือมนุษย์ ได้สัดส่วนอันเป็นระเบียบเรียบร้อยนี้ ไม่น่าจะเป็นอสรพิษที่หวาดเสียวเลยทีเดียว…ครั้นงูงามเลื้อยไปสุดขอบโต๊ะแล้ว ก็เลื้อยลงสู่เท้าแขนเก้าอี้ตัวที่เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ประทับ…” (นิยายรักในราชสำนักฝ่ายใน ตอนเจ้าจอมซ่อนกลิ่น Shine Publishing หน้า 570-571)

*

serpent2
an unmistakable sign that he would one day become famous in wisdom and knowledge p.245 The Romance of the Harem


*

“…ข้าพเจ้าได้รับความรู้ในเรื่องนี้ต่อไปว่า การที่งูเลื้อยไปตลอดโต๊ะเรียนนั้นเป็นนิมิตมงคล ส่วนที่เลื้อยลงสู่เท้าแขนเก้าอี้ขององค์มกุฎราชกุมารนั้นยิ่งเป็นศุภมงคล แสดงว่าต่อไปภายหน้า เจ้าฟ้าพระองค์นี้จะได้สืบราชสมบัติปกครองไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินให้ได้รับความร่มเย็นเป็นแม่นมั่นทีเดียว…” (นิยายรักในราชสำนักฝ่ายใน ตอนเจ้าจอมซ่อนกลิ่น Shine Publishing หน้า 571)

*

ในต้นฉบับเขียนว่างูที่เลื้อยผ่านเท้าแขนเก้าอี้ของเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์นั้นถือเป็น “…an unmistakable sign that he would one day become famous in wisdom and knowledge.” ไม่ได้ระบุอย่างในฉบับแปล อย่างไรก็ตาม ฉันพบว่าถึงจะมีความคลาดเคลื่อนอย่างไร งูที่เลื้อยผ่านก็มีความหมายในเรื่องเล่านี้มากทีเดียว มันย้ำถึงสถานะของแอนนาว่ามีความสำคัญ เหตุการณ์เกิดขึ้นระหว่างที่แอนนากำลัง “สอนลูกศิษย์” เรื่องแม่น้ำไนล์บนแผนที่อียิปต์อยู่ เธอกำลังปฏิบัติหน้าที่และเธอทำได้ดีเป็นที่ยอมรับจนกระทั่งมีนิมิตมงคลนี้มาเป็นเครื่องยืนยัน(ถึงเธอจะค่อนไปทางไม่เชื่อก็ตาม) เธอเป็นแกนกลางของฉากนี้ ทุกคนเข้ามาแสดงความยินดีกับเธอ แม้กระทั่งคิงมงกุฎเองก็ตาม

*

งูที่เลื้อยผ่านจึงไม่ใช่แค่งูอะไรก็ได้ เลื้อยผ่านไปที่ไหนก็ได้ และเป็นใครก็ได้ที่พบเห็น มันจำเป็นจะต้องเป็นงูขนดทองแดงที่หมายถึงเรื่องมงคล เลื้อยผ่านโต๊ะและท้าวแขนเก้าอี้ของลูกศิษย์คนสำคัญในพระบรมมหาราชวัง ในขณะที่แอนนาเป็นประจักษ์พยานต่อเหตุการณ์นี้ไปพร้อมๆ กันกับบรรดาลูกศิษย์ของเธอ

*

แต่แอนนาก็ไม่เบา เพราะเมื่อเธออธิบายความหมายของงูขนดทองแดงเสร็จ เธอก็กล่าวกับผู้อ่าน (ซึ่งอบ ไชยวสุ แปลไว้อย่างหน้าสนใจในฉบับไทย  หน้า 571 ซึ่งอยากให้ตามไปอ่านกันเอง) ว่า “I leave it with my readers to decided which is the better, our inherited dread of and desire to destroy the serpent race, or the Siamese custom of idealizing, though which a certain superstitious reverence, the meanest of the work of nature.” (The Romance of the Harem หน้า 245)

ทั้งหมดนี้คือการอ่านเป็นปกอย่างคร่าวๆ

*
*
*
*
*

ทำงานร่วมกับ COLLAGECANTO / A Collaboration with COLLAGECANTO

*

COLLAGECANTO หรือ บัว วรรณประภา ตุงคะสมิต เป็นทั้งพี่สาวที่ฉันนับถือและเป็นนักตัดกระดาษฝีมือเยี่ยม ผลงานของพี่บัวมีมากมาย เธอเคยร่วมงานกับแบรนด์มีดตัดกระดาษชื่อดังของญี่ปุ่น OLFA มาแล้ว ทั้งล่าสุดพี่บัวยังมีส่วนร่วมสร้างงานตัดกระดาษในผลงานโฆษณา ARTQUARIUM ซึ่งได้รับรางวัล Gold Winner Cannes Lions 2016 อีกด้วย

สำหรับผลงานส่วนตัว พี่บัวมักสร้างงานตัดเส้นละเอียดยิบจากรูปทรงธรรมชาติและนำมาคอลลาจเข้ากับภาพวินเทจที่เธอสะสมเอาไว้ กลายเป็นงานแปลกตาที่พิเศษ(และวิเศษ)มากสำหรับฉัน (ลองเข้าไปชมผลงาน La famille ของเธอได้ที่นี่ และชมโปรเจคการตัดเฟิร์นจิ๋วที่น่าทึ่งได้ที่นี่ )

*

COLLAGECANTO
ARTQUARIUM  ที่มา FB CollageCanto

*

collagecanto fern
Fern project ที่มา FB CollageCanto

*

paper cutting เป็นงานละเอียด นอกจากเรียกร้องสมาธิและความอดทนสูงแล้ว ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจ เริ่มตั้งแต่ ขนาดและชนิดของใบมีดที่ใช้ตัด, แผ่นรองตัดซึ่งต้องเปลี่ยนอยู่บ่อยๆ เพื่อป้องกันคราบเข้าไปสะสมตัวในร่องลึกแผ่นตัด ทำให้กระดาษดำ และอาจทำให้ตัดพลาดในกรณีที่ผิวของแผ่นรองตัดเก่าจนเสียหาย (แผ่นรองตัดขนาดใหญ่นั้นมีราคาสูง ไม่ใช่หลักร้อย แต่เป็นหลักพัน) , กระดาษที่ใช้ตัดซึ่งมีมากมายหลายชนิด-

*

bua smith profile COLLAGECANTO_The Romance of the Harem
COLLAGECANTO หรือ บัว-วรรณประภา ตุงคะสมิต

*

bookcover the romance of the harem_collagecanto and yodchat bupasiri antalis paper details1
เลือกกระดาษที่ Antalis Thailand

*

พี่บัวให้เหตุผลการเลือกกระดาษว่า “กระดาษที่ใช้ทำปกนี้เราเลือก Rives DESIGN เพราะ texture คล้ายเกล็ดงู ข้อเสียของรุ่นนี้คือจะกินขี้ผง ขี้ฝุ่นง่าย” Rives DESIGN มีความหนาให้เลือกหลายแบบ แบบที่หนาที่สุดมีสีออกเหลืองนวลและสะท้อนแสงไฟได้ดี

*

Bua Smith_paper cutting project_The Romance of the Harem
COLLAGECANTO

*

พี่บัวยังแนะนำอย่างอารมณ์ดีอีกด้วยว่าลายแบบไหนที่เลี้ยวใบมีดตัดง่าย แบบไหนตัดยาก และความหนาของกระดาษจะมีผลต่อการลงน้ำหนักมือระหว่างตัด – ทั้งหมดนี้เป็นประสบการณ์ของมืออาชีพที่ทำงานตัดกระดาษมาอย่างยาวนาน

*

ขูด ขีด ตัด แปะ ทดลองกับพื้นผิวและการคอลลาจเพื่อให้ได้งานมาในแบบที่ตัวเองไม่คาดฝัน นั่นเป็นงานแนวที่ฉันถนัด แต่ paper cutting ได้คว่ำความโกลาหลทุกอย่างของฉันลงแล้วจัดระเบียบใหม่ paper cutting คือการวางแผน การมองเห็นภาพปลายทางอย่างชัดเจนแล้วทำตามขั้นตอนเพื่อไปให้ถึงจุดนั้น แบบต้องเป๊ะ งานจะมีกี่ชั้น แต่ละชั้นจะซ้อนเหลื่อมกันอย่างไร แล้วลายควรเป็นแบบไหนเพื่อให้การซ้อนนั้นพอดีกัน จะติดกาวไหม จะตัดแยกชิ้นหรือจะตัดทั้งหมดรวมในแผ่นเดียว เหล่านี้เป็นโจทย์ที่ฉันได้รับมาจากพี่บัว

*
*
*
*
*

ภาพร่างและขั้นตอนการทำแพทเทิร์น / Making Pattern

*

ก่อนจะถึงมือพี่บัว ฉันต้องทำภาพร่างและแพทเทิร์นให้เรียบร้อยเสียก่อน

มาถึงตอนนี้ฉันมีภาพงูสีขาวขดไปมาเป็นภาพปกหนังสืออยู่ในหัว แต่งูนั้นต้องไม่เชิงว่าเป็นงูจริง เพราะนี่เป็นความเปรียบ ดังนั้นต้องเริ่มคิดไปพร้อมกับองค์ประกอบของภาพว่าลายของงูตัวนี้ควรเป็นอย่างไร

*

yodchat bupasiri_profile_papercutting project_The romance of the Harem
Me and the final pattern for The Romance of the Harem.

*

ฉันทดลองตัวเลือกหลายๆ ทาง พร้อมทำความคุ้นเคยกับการตัดไปด้วย ฉันเลือกกระดาษเนื้อบางที่สุดมาสร้างลายอย่างง่าย-ลายที่เกิดจากวงกลมหลายๆ วงมาซ้อนทับกัน เพื่อดูว่าลายที่เกิดจากรูปร่างเรขาคณิตจะเข้ากับขดงูได้มากน้อยแค่ไหน

*

Yodchat Bupasiri sketch the romance of the harem2
ทดลองสร้างลายจากวงกลมซ้อนทับกัน / sketch

*

Yodchat Bupasiri sketch the romance of the harem3
ทดลองสร้างลายจากวงกลมซ้อนทับกัน / sketch

*

Yodchat Bupasiri sketch the romance of the harem4
ทดลองสร้างลายจากวงกลมซ้อนทับกัน / sketch

*

Yodchat Bupasiri sketch the romance of the harem5 copy
ทดลองสร้างลายจากวงกลมซ้อนทับกัน / sketch

*

ถัดมาฉันเริ่มแกะลายจากงานของวิลเลียม มอร์ริส (William Morris 1834-1887) นักออกแบบ Textile ชาวอังกฤษ (ซึ่งเป็นคำแนะนำมาจากบรรณาธิการตั้งแต่ส่งต้นฉบับมาให้ ว่าอยากให้มีลายของนักออกแบบท่านนี้ประดับอยู่ด้วย) ทั้งนี้มีประเด็นเกี่ยวกับชาติกำเนิดของแอนนาว่าแท้จริงแล้วเธอโกหกหรือไม่ เธอเป็นลูกครึ่งอังกฤษ-อินเดีย ดังนั้นเธอจึงไม่ใช่ผู้ดีอังกฤษแท้? ตอนที่งานของแอนนาได้รับการตีพิมพ์(โดยสำนักพิมพ์อเมริกัน) ก็ยังอยู่ในช่วงชีวิตของนักออกแบบผู้นี้

ในด้านเทคนิค ฉันพบว่าไม่มีปัญหากับการเลือกลายเท่าไหร่นัก แต่ฉันมีปัญหาอย่างมากกับการแปลงลายมาเป็นแพทเทิร์นการตัด ฉันค่อนข้างสับสนกับการอ่านค่าน้ำหนักเข้ม-กลาง-อ่อน และวิธีที่ลวดลายทั้งหมดจะต่อกันได้เป็นร่างแหโดยไม่ขาดออกจากกัน นี่เป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจใหม่หมด ระหว่างนี้ฉันคอยปรึกษาพี่บัวอยู่เป็นระยะๆ

*

william morris_The Romance of the Harem copy
ลายของ William Morris

*

william morris The Romance of the Harem pattern
ลอกลายหลายๆ แบบมาเปรียบเทียบกัน / tracing William Morris’s patterns

*

bookcover the romance of the harem_collagecanto and yodchat bupasiri details13
ทดลองตัดลายของ William Morris / William Morris’s pattern in paper cutting version

*

ในระหว่างที่พยายามเรียนรู้การอ่านค่าน้ำหนัก ฉันหันมาวางองค์ประกอบของภาพ ฉันอยากให้เหมือนว่างูตัวนี้กำลังเลื้อยพันปกหนักสืออยู่ ภาพที่เห็นด้านล่างเป็นการวางแบบสำหรับแจ๊คเก็ตปกแข็งจึงมีปีกปกด้วย (ภาพจะถูกใช้สำหรับหนังสือปกอ่อนทั้งอักฤษและไทย และเป็นแจ็คเก็ตของหนังสือปกแข็งภาษาไทย) แต่ลายนั้นยังไม่ใช่ลายที่ตกลงใจจะใช้จริง

*

william morris The Romance of the Harem3
วางองค์ประกอบปก / sketch of book cover

*

mock up 1 copy
วางองค์ประกอบปกหน้า / sketch of front cover

*

mock up 2 copy
วางองค์ประกอบสันปก / sketch of book spine

*

mock up 3 copy
วางองค์ประกอบปกหลัง / sketch of back cover

*

ลายของวิลเลียม มอร์ริส ซึ่งเป็น Organic Form มากๆ จำต้องมีตัวเบรกอย่างลูกไม้จาก Bedfordshire-Bedfordshire เป็นเมืองทางตะวันออกของอังกฤษ ขึ้นชื่อเรื่องลูกไม้มาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 17 ลายที่ฉันทดลองตัดเป็นลายจากหนังสือ Bedfordshire Lace Patterns – A personal selection by Margaret Turner ฉันพยายามใช้ลายที่สามารถใช้ซ้ำๆ ต่อเนื่องกันในพื้นที่แคบของตัวงูได้

*

เอาเข้าจริงทั้งลายของวิลเลียม มอร์ริส และลูกไม้ของ Bedfordshire ที่ปรากฏบนปกนิยายรักในราชสำนักฝ่ายใน ก็ไม่มีอะไรเป็นอังกฤษแท้ ลายทั้งหมดก็ล้วนถูกฉันจับมาดัดแปลงตรงนั้นบ้าง ตรงนี้บ้าง เพื่อให้เข้ากับผลที่ฉันอยากให้เป็นทั้งสิ้น

*

wip the romance of the harem yodchat bupasiri10
ทดลองตัดลายลูกไม้ของ Bedfordshire / lace pattern from Bedfordshire

*

bookcover the romance of the harem_collagecanto and yodchat bupasiri details15
ทดลองตัดลายลูกไม้ของ Bedfordshire / lace pattern from Bedfordshire

*

ใช้เวลาประมาณสามอาทิตย์ (ไม่นับช่วงที่ฉันเรียกมันว่า “เวลาล้มโต๊ะ” นั่นคือเวลาที่ฉันคิดงานไม่ออกจริงๆว่าควรไปต่ออย่างไร ) สรุปออกมาเป็นแบบร่างอย่างที่เห็นด้านล่างนี้

*

bookcover the romance of the harem_collagecanto and yodchat bupasiri details12
แบบร่างปก นิยายรักในราชสำนักฝ่ายใน / sketch of ‘The Romance of the Harem’ book cover

*

หลังจากนั้นจึงเริ่มออกแบบลายอย่างละเอียดว่าจะมีกี่ชั้น ฉันตกลงใจว่ามีสองเพราะมากกว่านั้นถ่ายภาพออกมาก็คงไม่เห็นรายละเอียดแล้ว ให้ลายของวิลเลียม มอร์ริส อยู่ชั้นบนเพราะไปกันได้ดีกับลักษณะการเลื้อยของงู และลายลูกไม้ละเอียดยิบของ Bedfordshire อยู่ชั้นล่าง

*

bookcover the romance of the harem_collagecanto and yodchat bupasiri details14
ลองแปลงลายเดียวกันของ William Morris ให้เป็นทั้งลายชั้นบนและชั้นล่าง

*

bookcover the romance of the harem_collagecanto and yodchat bupasiri details6
วางลาย William Morris อยู่ด้านบนลายลูกไม้ Bedfordshire

*

bookcover the romance of the harem_collagecanto and yodchat bupasiri details8
ลายลูกไม้  Bedfordshire ที่ฉันทดลองตัด นำมาซ้อนทับกับลายเรขาคณิต

*

ลายลูกไม้ Bedfordshire ที่ฉันเลือกใช้เป็นผลงานดัดแปลงของ Rebecca Bury อายุ 14 ปี ซึ่งเธอตั้งใจทำเป็นที่คั่นหนังสือ เป็นเรื่องน่าบังเอิญว่าลายที่ฉันเลือกใช้ทำปกหนังสือมีที่มาจากที่คั่นหนังสือ:)

ภาพข้างล่างนี้เป็นลาย final สำหรับตัวงูชั้นบนซึ่งฉันแปลงมาจากลายของวิลเลียม มอร์ริส

*

bookcover the romance of the harem_collagecanto and yodchat bupasiri details7
final patterns for the book cover

*
*
*
*

หลังจากตกลงใจได้แล้วว่าจะใช้ลายแบบไหน ฉันใช้เวลาอีกประมาณ 9 วันในการวางแพทเทิร์น

*

wip the romance of the harem_yodchat bupasiri 20
ลงเส้นหมึกทับรอยดินสอ ลายชั้นที่ 1 / making pattern (first layer)

*

wip the romance of the harem_yodchat bupasiri 21
ลงเส้นหมึกทับรอยดินสอ ลายชั้นที่ 1 / making pattern (first layer)

*

wip the romance of the harem_yodchat bupasiri 22
ลงเส้นหมึกครบทั้งภาพ ลายชั้นที่ 1 / making pattern (first layer)

*

wip the romance of the harem_yodchat bupasiri31
ถมดำเพื่อให้เห็นลายที่จะตัดได้ชัดเจนขึ้น ลายชั้นที่ 1 / first layer

*

wip the romance of the harem_yodchat bupasiri32
รายละเอียดของลายเมื่อถมดำแล้ว ลายชั้นที่ 1 / first layer

*

wip the romance of the harem_yodchat bupasiri33
รายละเอียดของลายเมื่อถมดำแล้ว ลายชั้นที่ 1 / first layer

*

wip the romance of the harem_yodchat bupasiri 25
เริ่มวางลายชั้นที่ 2 /  second layer

*

wip the romance of the harem_yodchat bupasiri 26
ลงหมึกดำบนลายชั้นที่ 2 / second layer

*

wip the romance of the harem_yodchat bupasiri 27
รายละเอียดของลายชั้นที่ 2 / details of second layer

*

IMG_20171003_163439_807
รายละเอียดของลายชั้นที่ 2 / half-finished second layer

*

bookcover the romance of the harem_collagecanto and yodchat bupasiri details25
ลงหมึกดำจนทั่วลายชั้นที่ 2 / full drawing of second layer

*

เมื่อได้แพทเทิร์นครบทั้งสองชั้นแล้ว นำลงไปลอกลายลงบนกระดาษจริงที่ใช้ตัด หลังจากนั้นนำลายชั้นที่สองมาทาบดูว่าลายส่วนไหนที่จะถูกบังไว้บ้าง จุดลายที่ต้องตัดด้วยปากกาสีเพื่อกำหนดพื้นที่การตัด (แต่ถึงเวลาจริงพี่บัวตัดออกหมดเพื่อความสบายใจ : ) )

*

bookcover the romance of the harem_collagecanto and yodchat bupasiri details21

*

bookcover the romance of the harem_collagecanto and yodchat bupasiri details20

*

bookcover the romance of the harem_collagecanto and yodchat bupasiri details18

*
หลังทำแพทเทิร์นชั้นแรกเสร็จก็ส่งให้พี่บัวเริ่มตัดทันที ระหว่างนั้นจึงทำแพทเทิร์นชั้นที่สองส่งตามไปทีหลัง เท่านี้ก็เสร็จสิ้นหน้าที่ของคนทำแบบร่างและแพทเทิร์น

เกือบลืมเล่าไปว่ายังมีภาพดรอว์อิ้งสำหรับปั๊มลงปกแข็งอีก ซึ่งฉันวาดเป็นงูจริงแบบที่มีเกล็ดงูอย่างที่ทุกคนคุ้นเคย ซึ่งน่าจะสร้างความหมายบางอย่างให้กับผู้อ่านตอนที่เปิดหุ้มแจ็คเก็ตออกแล้วมาพบภาพนี้บนปกใน งานส่วนนี้ฉันวาดแล้วส่งต่อให้พี่แมว MerryDay พี่สาวที่น่ารักในแวดวงวาดภาพประกอบอีกคน ดราฟเป็นไฟล์ ai แล้วส่งให้ทางสำนักพิมพ์ต่อไป

*

wip the romance of the harem yodchat bupasiri31

*
*
*
*
*
*

It’s time for the blade of COLLAGECANTO.

*

bua smith the romance profile
COLLAGECANTO

*

หลังจากใช้เวลาไปกับการลองผิดลองถูกทำแพทเทิร์นโดยมือใหม่อย่างฉัน ก็มาถึงขั้นตอนการตัดกระดาษของมืออาชีพอย่างพี่บัวซึ่งมีเวลาเหลือเพียงสองอาทิตย์กว่าๆ เท่านั้น การต้องมาตัดลายที่ไม่คุ้นอาจชวนให้สับสนอยู่บ้าง เหมือนต้องสานต่องานวาดเส้นที่ไม่ใช่ของตัวเอง แต่ด้วยประสบการณ์ พี่บัวก็สามารถทำความคุ้นเคยและตัดออกมาได้อย่างประณีตสวยงามในเวลาที่จำกัด

ต้องขอบันทึกเอาไว้ด้วยว่ากระดาษที่ใช้กับลายชั้นบน เป็นกระดาษ 170 แกรม หนากว่ากระดาษปกติที่พี่บัวเคยตัดอยู่ 50 แกรม ดังนั้นพี่บัวซึ่งเคยมีปัญหาเรื่องการบาดเจ็บที่หลังไหล่จากการนั่งตัดกระดาษซ้ำๆ จึงอาจต้องลงคมมีดหนักกว่าเดิม ลองมาฟังที่เธอเล่า :

” (เนื่องจาก Rives DESIGN เป็นกระดาษที่เปื้อนง่าย) ตัดไปก็ต้องคอยลบหรือเอาแปรงปัดไปด้วย

พาร์ทตัดนี่ต้องขอบคุณปลายที่เตรียมมาให้ดีมาก ปกติเราจะทำลายเองแล้วก็ตัดเอง พอมีคนทำลายมาให้อย่างดีก็เลยเกร็งนิดหน่อย งาน 2 ชั้นนี้เราใช้ความหนาต่างกัน คือ 170 แกรม สำหรับชิ้นบน และ 120 แกรม สำหรับชิ้นล่าง ถ้าจำไม่ผิดคือเผื่อวางชิ้นบนลอยก็เลยต้องให้หนานิดนึง ส่วนที่เป็นหัวงูถ้าหนาหน่อยก็จะตัดขึ้นรูปได้ง่ายกว่า แต่เราขอไม่ให้หนากว่านี้แล้วเพราะปวดหลังและคงใช้เวลานาน

งานตัดผ่านไปด้วยดี ถ้าจะมีอะไรที่ยากก็คงเป็นลายลูกไม้ล่างที่โค้งเยอะ พอกระดาษแผ่นใหญ่ก็เลยหมุนองศาลำบาก แทนที่จะหมุนกระดาษเลยต้องหมุนตัวเอง จับมีดในองศาที่ปกติจะไม่ทำบ้างอะไรบ้าง เป็นช่วงที่ตัดแล้วซ่อม ตัดแล้วเล็งอยู่หลายรอบ แต่ก็เสร็จออกมาเป็นที่ค่อนข้างพอใจ (มีตัดพลาดและต้องซ่อมแต่อยู่ในจุดที่ไม่เป็นที่สังเกต ก็ถือว่าเอาตัวรอดไปได้)”

*

bua smith CollageCanto1

*

bua smith CollageCanto2

*

bua smith CollageCanto3

*

bua smith CollageCanto5

*

bua smith CollageCanto4

*


*


*

*
*
*
*

ถ่ายภาพ / Photo shooting

*

วันถ่ายภาพเราลังเลกันว่าจะถ่ายในแสงธรรมชาติหรือถ่ายในแสงไฟสตูดิโอดี แต่ด้วยกลัวว่าฟ้าฝนไม่เป็นใจเลยตัดสินใจว่าใช้แสงไฟในสตูดิโอคงเหมาะกว่า เราใช้พื้นที่และอุปกรณ์ของร้าน AiMan Shop ซึ่งใจดีกับเรามากๆ ทางร้านมีฉากขาวให้ มีไฟสามดวง ไฟดวงหลักสามารถปรับระดับแสงให้เป็นได้ทั้งโทนร้อนและโทนเย็น ถือว่าอุปกรณ์ค่อนข้างพร้อม งานนี้หลักๆ แล้วพี่บัวเป็นคนรับผิดชอบการถ่ายภาพ รวมไปถึงการทำไฟล์หลังการถ่าย ซึ่งเรามาพบกันทีหลังว่าต้องระวังพื้นผิวของกระดาษให้มากกว่านี้ เช่นเราพลาดที่ไม่ได้ปัดฝุ่นออกก่อนถ่ายภาพ :

” พอดูในจอแล้วก็เห็นว่ามีจุดดำ(บนกระดาษ)อยู่ก็ต้องนั่งลบและเล็งกันหลายรอบอยู่ เสียดายอีกอย่างว่าวันที่ถ่ายกันใช้ขาตั้งกล้องไม่ได้ ลายที่ตั้งใจเลือกก็เลยมองเห็นไม่ชัด ส่วนวันที่พยายามถ่ายแก้ ฟ้าฝนก็ไม่เป็นใจ ถึงเห็นลายชัด แต่ดึงแสงยากเกินก็เลยตกลงใช้รูปวันแรก พอต้องถ่ายงานชิ้นใหญ่กว่าที่เคยทำเองก็ทำให้รู้ว่าวิชาจัดแสงนี่สำคัญมากหมือนกัน ต่อให้เราแก้ทุกอย่างได้ในโฟโต้ช็อป แต่ถ้าต้นทางไม่โอเคก็ไม่โอเคอยู่ดี (ควรไปอัพสกิลโฟโต้ช็อปและอื่นๆ เพิ่มด้วย)”

*

b.yodchat bupasiri preparing for photo shooting

*

y.yodchat bupasiri preparing for photo shooting2

*

y.book cover in natural light

*

y.collagecanto aka bua smith and yodchat bupasiri prepare for photo shooting

*

y.c.bookcover the romance of the harem_collagecanto and yodchat bupasiri1 copy

*

y.photoshoot the romance of the harem4 copy copy

*

y.photoshoot the romance of the harem5 copy copy

*

y.photoshoot the romance of the harem3 copy copy

*
*

*
*

photoshoot the romance of the harem1

*

photoshoot the romance of the harem2

*

“โดยรวมแล้วเป็นงานคู่ที่ทำให้เราได้เรียนรู้อะไรหลายๆ ทั้งวิธีคิด วิธีทำงานที่น่าประทับใจจากปลายและการที่ทำให้เรารู้สึกว่าเรายังขาดสกิลอื่นอย่างที่บอกข้างต้น และมีบางโมเมนต์ที่อยู่ๆ ก็เข้าใจตัวเองว่า อ๋อ..เราชอบตัดคือชอบตัดจริงๆ ไม่ว่าจะตัดด้วยลายเส้นตัวเองหรือคนอื่นก็อยู่โหมดชอบเหมือนกัน”

*

Yodchat Bupasiri_illustrator and Collagecanto_papercutting artist2

*
*
*
*
*
*

FrontCover Typo The Romance of the Harem
ปกหน้า นิยายรักในราชสำนักฝ่ายใน / ‘The Romance of the Harem’ Front cover design

*

BackCover Typo The Romance of the Harem
ปกหลัง นิยายรักในราชสำนักฝ่ายใน / ‘The Romance of the Harem’ Back cover design

*

Cover Typo The Romance of the Harem
ปกนิยายรักในราชสำนักฝ่ายในแบบเต็ม / ‘The Romance of the Harem’ full book cover design

*

นิยายรักในราชสำนักฝ่ายใน (The Romance of the Harem)
เขียนโดย แอนนา เลียวโนเวนส์ แปลโดย อบ ไชยวสุ
จัดทำภาพปกโดย COLLAGECANTO และ ยอดฉัตร บุพศิริ
คำนำเสนอและเอกสารโดย วาด รวี
พิมพ์ฉบับภาษาไทยปกแข็ง(640 หน้า) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษปกอ่อน โดย Shine Publishing House

*
*
ภาพบรรยากาศการเปิดตัวหนังสือ “นิยายรักในราชสำนักฝ่ายใน” จัดโดย Shine Publishing ร่วมกับร้านหนังสือก็องดิด วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์  2561 ถ่ายโดยร้านหนังสือก็องดิด

– พูดคุยกับ 2 ศิลปิน ยอดฉัตร บุพศิริ และวรรณประภา ตุงคสมิต (COLLAGECANTO) ผู้สร้างสรรค์แบบปกถึงเบื้องหลังการสร้างงานที่ใช้เวลากว่า 2 เดือน แสดงผลงานต้นฉบับ Paper Cutting

– เสวนากับ 2 ผู้เขียน “นายใน” ชานนท์ ยอดหงษ์ และผู้เขียน “คราสและควินิน” พิพัฒน์ พสุธารชาติ กับเบื้องลึกเบื้องหลังฮาเร็ม และความจริงของแอนนาในประวัติศาสตร์
from c_The Romance of The Harem1
*
from c_The Romance of The Harem2
*
from c_The Romance of The Harem3
*
from c_The Romance of The Harem4
*
from c_The Romance of The Harem5
*
from c_The Romance of The Harem6
*
from c_The Romance of The Harem7
*
from c_The Romance of The Harem9
*
from c_The Romance of The Harem10
*
from c_The Romance of The Harem12
*
from c_The Romance of The Harem20
*
*
สั่งซื้อหนังสือได้ที่ ก็องดิดออนไลน์(ปกอ่อนและปกแข็ง)  Readery(ปกแข็ง)  Readery(ปกอ่อน) 
*
*
*
*** : ) ***