The Extraordinary Journey with Yodchat*Tinyline

เวิร์กช็อปที่รัก The Extraordinary Journey with Yodchat*Tinyline นี่คือเวิร์กช็อปศิลปะที่ประทับใจมาก เพราะว่าเป็นตัวต้นแบบของการสอนเทคนิค mixed media ของคลาสอื่นๆ ที่เคยสอนมา . . การเรียนหลักๆ คือการได้ลองสร้าง textures จากสีอะคริลิก สีน้ำมัน สีชอล์กน้ำมัน และสีกวอช โดยวิธีการทั้งหมดนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากโปรเจคสมุดบันทึกถึงคุณยายของเรา (ดูลิงก์ได้ที่นี่) . เทคนิคจะค่อยๆ ไล่ลำดับจากเทคนิคง่ายๆ แต่ให้ผลดีอย่างอะคริลิกบนกระดาษผสมกับสีฝุ่น ไปจนถึงการสร้างพื้นผิวเบื้องต้นจากสีน้ำมันบนแม่พิมพ์กระดาษ การผสมกันระหว่างสีน้ำมันและสีชอล์กน้ำมัน . . ผู้เรียนจะได้รับโจทย์ที่เป็นการวาดรูปทรง organic เดี่ยวๆ และวาด character ตัวละคร ที่นำไปสู่การตีความเรื่องราว textures ทั้งหมดที่เรียนมาจะถูกนำมาใช้คอลลาจในภาพสุดท้าย . . ข้อดีของเวิร์กช็อปนี้คือมันสนุกมาก! เป็นการได้ท่องไปในดินแดนแห่งความอลหม่าน เลอะเทอะเปรอะเปื้อนจากเทคนิคที่ผู้เรียนไม่คุ้นเคย แต่ข้อเสียคือผู้เรียนแทบจะไม่ได้นั่งติดเก้าอี้เลย เพราะต้องทดลองเทคนิคจำนวนมาก ในเวลาที่จำกัด เรียกได้ว่าต้องมอนิเตอร์เวลาทุก 5-10 นาที และคุม timeline ให้เป๊ะมากๆ เวลาเกินไม่ได้เด็ดขาด . ดังนั้นใน คลาสหลังๆ (Adele) จึงได้มีการปรับแก้ในจุดนี้ ลดบางส่วนลง ปรับอุปกรณ์ที่ล้นเกินให้พอดีลงมาหน่อย และเกลี่ยให้มีช่วงเวลาที่ผ่อนคลายมากขึ้น ให้น้ำหนักและขยายเวลา กับการทดลองในบางเทคนิคมากขึ้น โดยอิงกับผู้เรียนเป็นหลัก . ดังนั้นชิ้นงานที่ได้กลับไปในแต่ละคลาสจะไม่เท่ากัน ซึ่งเราได้พบว่าเมื่อให้เวลากับบางจุดเยอะขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้ก็ออกมาน่าพอใจ ขนาดและจำนวนของชิ้นงานอาจจะลดลง แต่มันมีความเข้มข้นและได้กระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ทักษะการตีความมากขึ้น : ) . . จะว่าไปผลที่ได้จากแต่ละคลาสนั้นก็ไม่เหมือนกันเลย เป็นเพราะคนสอนเองนี่แหละที่ไม่อยากสอนซ้ำ เทคนิคอาจดูคล้าย แต่ในรายละเอียดและผลลัพธ์นั้นมีความแตกต่าง อย่างคลาส Extraordinary นี้ ก็ไม่ได้ให้ตีความ text ใดๆ เลย แต่เราเลือกใช้ลูกแอปเปิ้ลหิน เซรามิก และภาพโปสการ์ดเป็นตัวไกด์ภาพให้แต่ละคนแทน และเรื่องราวที่ทุกคนแต่งขึ้นมาก็น่ารักมากๆ . .…

Read More

Falling in love with textures

(1) Technique เวิร์กชอปการสร้าง texture จากเทคนิคผสมที่เราเคยจัดมา ไม่ว่าจะเป็นสีน้ำ สีน้ำมัน หรือสีอะคริลิก ส่วนใหญ่แล้วมีหลักง่ายๆ ร่วมกันคือเป็นกระบวนการพิมพ์แบบโมโนไทป์ แม่พิมพ์ที่ใช้มักเป็นแม่พิมพ์กระดาษ หรือวัตถุที่มีความเรียบและมัน เช่นแผ่นพลาสติก พื้นผิวที่ได้จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับลักษณะกระดาษที่ใช้พิมพ์ ร่องรอยการขูดขีดและทีแปรงที่เกิดขึ้นบนแม่พิมพ์นั้นๆ   . . . เราสามารถสร้างพื้นผิวจากการพิมพ์โมโนไทป์ได้แบบไม่รู้จบจากแม่พิมพ์อันก่อนหน้า ผลลัพธ์มีทั้งคาดเดาได้และไม่ได้ ทำให้การพิมพ์แบบนี้เป็นเรื่องสนุก . . . . . .   (2) Stories เรื่องเล่าจาก textures เหล่านี้เป็นเรื่องอะไรได้บ้าง . . . . คำตอบก็คือ เป็นอะไรก็ได้! เราสามารถใช้พื้นผิวที่แตกต่างกัน นำมาเรียงร้อยเชื่อมโยงให้เป็นเรื่องเดียวกันได้ ความเข้ากันอยู่ที่จังหวะการวางความต่อเนื่องของภาพ “เธอรออยู่ตรงนี้ รอเพื่อนผู้หญิงบ้าง รอเพื่อนที่ทำงานบ้าง รอรถไฟบ้าง รอให้ถึงตอนเย็นบ้าง เธอเป็นเด็กผู้หญิงคนหนึ่ง หากมีใครสักคนเอ่ยถามเธอ เธอจะกลายเป็นสาวเต็มตัว ภรรยาของเขามักขวัญอ่อนอยู่เสมอเวลาเขาพูดอะไร… จะให้เธอพูดอะไรดี พอเธอไม่พูด เขามักอารมณ์เสีย อาเดเลอยู่คนเดียวมาตลอด…

Read More